เริ่มทานมังสวิรัติหรือทานเจ: แรงจูงใจและอิทธิพล
[This post has been translated from English to Thai. You can find the original post here. This translation was made possible with support from World Animal Protection courtesy of a grant from the Open Philanthropy Project.]
ความเป็นมาและความสำคัญ
เมื่อพูดถึงการทานอาหารมังสวิรัติและอาหารเจ (veg*nism) เหตุผลที่ผู้คนหันมารับประทานเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงในการวิจัยมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าแรงจูงใจด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและการคุ้มครองสัตว์ป่านั้นเป็นเรื่องธรรมดาๆ ในสหรัฐอเมริกา (Faunalytics ปี 2014) แต่มันอาจจะไม่ได้เป็นเหมือนกันกับประเทศอื่น ๆ (เช่น อินเดีย เวียดนาม เนเธอร์แลนด์) การวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นว่าผู้ที่มีแรงจูงใจด้านจริยธรรมมักจะเป็น veg*nism นานกว่าผู้ที่มีแรงจูงใจด้านสุขภาพ (Faunalytics ปี 2014; Hoffman ปี 2013) ในการวิจัยนี้ เราสำรวจความสัมพันธ์ของแรงจูงใจที่แตกต่างกันว่ามีผลต่อความสำเร็จอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป เราคาดว่าการค้นพบเกี่ยวกับแรงจูงใจที่พบบ่อยที่สุดจะมีผลที่ออกมาเหมือนกัน และในทำนองเดียวกันผู้ที่มีแรงจูงใจในเรื่องการคุ้มครองสัตว์จะประสบความสำเร็จมากขึ้นในการเปลี่ยนแปลงของพวกเขา
นอกเหนือจากแรงจูงใจเหล่านี้แล้ว เรายังสามารถคำนึงถึงที่มาของแรงจูงใจได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนด้วยตนเอง หรือแรงจูงใจจากภายนอก งานวิจัยที่ผ่านมามุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมด้านสุขภาพ ได้แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะบรรลุและรักษาเป้าหมายที่พวกเขายอมรับด้วยเหตุผลที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง (โดยแท้จริง) มากกว่าเป้าหมายที่พวกเขานำมาใช้เพื่อทำให้ผู้อื่นพอใจ (Williams ปี 1996) ในการวิจัยนี้ เราคาดการณ์ว่าการเป็น veg*nism ก็จะเป็นเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น คนสองคนที่มีแรงจูงใจเหมือนกัน เช่น การคุ้มครองสัตว์ เราคาดว่าคนที่มีแรงจูงใจนั้นเป็นส่วนสำคัญในประสบความสำเร็จในเป้าหมายมากกว่าคนที่ต้องการทำเพื่อต้องการให้คนอื่นยอมรับ
แรงจูงใจทั่วไป เช่น ความกังวลด้านสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงวิธีหนึ่งในการคำนึงถึงเหตุผลในการเป็น veg*nism พื้นฐานของแรงจูงใจที่ชัดเจนเหล่านี้เป็นการวางแนวทางทางจิตวิทยาที่เรียกว่าเผ่าพันธุ์นิยม และความเชื่อที่ว่ามนุษย์มีค่ามากกว่าเผ่าพันธุ์อื่นๆ เผ่าพันธุ์นิยมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับ veg*nism ตัวอย่างเช่นงานวิจัยของ Caviola ปี (2018) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ทานเจมีความเผ่าพันธุ์นิยมน้อยกว่าผู้ที่ไม่ทานเจ อย่างไรก็ตาม เราไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่มาก่อนว่าผู้คนเต็มใจที่จะเป็น veg*nism เพราะว่าพวกเขาไม่ได้มีความเป็นเผ่าพันธุ์นิยมหรือว่าการเป็น veg*nism จะทำให้พวกเขาเปิดรับแนวคิดเผ่าพันธุ์นิยมเพื่อที่พวกเขาจะมีความเป็นเผ่าพันธุ์นิยมน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป นี่จึงเป็นหนึ่งในคำถามที่เราได้สำรวจในการวิจัยนี้
สุดท้ายนี้ นอกเหนือจากเรื่องทั่วไปและเรื่องทางจิตวิทยาแล้ว เรายังจำเป็นต้องพิจารณาเหตุการณ์เฉพาะที่มีอิทธิพลต่อผู้คนในการเป็น veg*nism ตั้งแต่การดูสารคดีเกี่ยวกับความทุกข์ทรมานของสัตว์ไปจนถึงการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์ นักวิจัยได้ศึกษาวิธีการที่หลากหลายที่ออกแบบมาเพื่อโน้มน้าวหรือเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้คนหันมาเป็น veg*nism ด้วยเหตุผลเฉพาะ (เช่น Mathur ปี 2021) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้รณรงค์เรื่องสัตว์ ซึ่งการระบุและสนับสนุนเหตุผลเหล่านั้นเป็นส่วนสำคัญของการรณรงค์ด้านอาหาร ในรายงานนี้ เราได้มีการพิจารณาว่าอิทธิพลเฉพาะเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความสำเร็จอย่างไร
ผู้เข้าร่วม
การวิจัยนี้ประกอบด้วยประชาชนทั่วไปที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 222 คนในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งทุกคนเริ่มเปลี่ยนไปรับประทานอาหารมังสวิรัติหรืออาหารเจภายในสองเดือนที่ผ่านมา
ส่วนระดับความมุ่งมั่นของรายงานฉบับแรกแสดงให้เห็นว่ามากกว่า 90% ของกลุ่มตัวอย่างบอกว่าพวกเขาอาจจะยอมรับหรือยอมรับการดำเนินการเปลี่ยนแปลงการทานอาหารใหม่ๆ อย่างถาวรแน่นอน ตัวอย่างนี้จึงควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างของคนส่วนใหญ่ที่ก้าวผ่านความสนใจธรรมดาๆ หรือความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาพร้อมที่จะมุ่งสู่เป้าหมายในการเป็น veg*nism ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงจะได้รับการพิจารณาโดยละเอียดเพิ่มเติมในส่วนแรงจูงใจทั่วไปของข้อสรุป
การค้นพบที่สำคัญ
- แรงจูงใจที่ขับเคลื่อนตัวเองในการเป็น veg*nism สามารถเป็นแรงผลักดันอันทรงพลังสู่ความสำเร็จ แรงจูงใจที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองมาจากภายในบุคคล เช่น ค่านิยมส่วนตัวหรือเอกลักษณ์ทางศีลธรรม ในขณะที่แรงจูงใจภายนอกรวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น ความรู้สึกกดดันจากผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จ ผู้ที่มีแรงจูงใจทั้งสองแหล่งมักจะประสบความสำเร็จมากที่สุด เช่น 70% ของผู้ที่มีแรงจูงใจทั้งจากแรงขับเคลื่อนตัวเองและจากภายนอกสูงในช่วงเริ่มต้นของการวิจัยได้บรรลุหรือเทานระดับเป้าหมาย การบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ภายในเดือนที่ 6 เทียบกับ 59% ของผู้เข้าร่วมทั้งหมด แม้ว่าสิ่งนี้จะแสดงให้เห็นว่าแหล่งที่มาของแรงจูงใจทั้งสองสามารถขับเคลื่อนความสำเร็จได้ แต่การวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าแรงจูงใจภายนอกนั้นแย่กว่าสำหรับการรักษาเป้าหมายในระยะยาว ดังนั้น เราขอแนะนำให้เน้นย้ำแรงจูงใจที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองเมื่อเป็นไปได้ ตามรายละเอียดในส่วนคำแนะนำด้านล่าง
- ผู้เข้าร่วมมีความเป็นเผ่าพันธุ์นิยมน้อยลงหลังจากเป็น veg*nism และผู้ที่ประสบความสำเร็จมากขึ้นในการบรรลุเป้าหมายการเป็น veg*nism จะรู้สึกได้ถึงการลดลงของแนวคิดเผ่าพันธุ์นิยมภายในตัวเองได้มาก ที่สุด ในช่วงหกเดือนแรกของการทานอาหารแบบ veg*nism ความเป็นเผ่าพันธุ์นิยมของกลุ่มตัวอย่างลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมอาหาร ในขณะที่ผู้คนที่เป็น veg*nism มักจะมีแนวโน้มที่จะต่อต้านแนวคิดเผ่าพันธุ์นิยม เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไปอยู่แล้ว โดยมีค่าเฉลี่ยเพียง 1.8 ในระดับ 1 ถึง 5 ค่าเฉลี่ยลดลงเหลือ 1.5 ในช่วงหกเดือนของการวิจัย
- การเปิดรับประสบการณ์การรณรงค์เรื่องสัตว์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความสำเร็จในการบริโภคของผู้คนในการรับประทานอาหารใหม่ของพวกเขา โดยไม่คำนึงสวัสดิภาพสัตว์เป็นแรงจูงใจหลักของพวกเขาหรือไม่ กล่าวคือ คนที่เคยเห็นสื่อหรือภาพของสัตว์เลี้ยงในฟาร์มที่ไม่รู้สึกพอใจ (42%) ดูสารคดี (36%) และ/หรือ ได้รับข้อมูลจากกลุ่มผู้รณรงค์เรื่องสัตว์ (21%) ต่างก็ทำได้ดีกว่าเมื่อไปถึงระดับเป้าหมายของการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ในหกเดือนต่อมา แม้จะคำนึงถึงแรงจูงใจทั่วไปและระดับพื้นฐานของความสำเร็จของพวกเขา ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ได้รับข้อมูลจากคนดังหรืออินฟลูเอนเซอร์ (23%) มีแนวโน้มที่จะอยู่ไกลจากระดับเป้าหมายในการบริโภคมากกว่าคนที่ไม่ได้รับอิทธิพลเฉพาะอื่นๆ อาจมีความสำคัญเช่นกัน แม้ว่าจะไม่ได้เป็นจุดสูงสุดในการวิจัยนี้
- การเรียนรู้ข้อเท็จจริงบางอย่างสามารถเพิ่มความสำเร็จของการบริโภคได้เช่นกัน แต่บริบทที่มีสำคัญ ผู้คนประมาณครึ่งหนึ่ง (51%) ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทารุณสัตว์ในฟาร์ม และเราพบว่าประสบการณ์นี้อาจลดความสำเร็จลงได้หากเป็นเพียงอิทธิพล แต่ความสัมพันธ์เชิงลบนั้นมักจะหายไปเมื่อได้รับประสบการณ์ร่วมกับอิทธิพลอื่นๆ ผู้คนมากกว่าสองในสาม (68%) ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพจากการทานอาหารจากพืชเป็นหลัก ซึ่งเราพบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จ แต่ประโยชน์นั้นมักจะหายไปหากพวกเขามีประสบการณ์ที่มีอิทธิพลอื่นๆด้วย ในทางตรงกันข้ามการเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพของสัตว์ในฟาร์ม (ซึ่งมี 31% ที่ได้เรียนรู้แล้ว) ดูเหมือนว่าจะเป็นประโยชน์เมื่อรวมกับอิทธิพลอื่นๆเพียงอย่างเดียวจะไม่ส่งผลต่อความสำเร็จได้อย่างชัดเจน
- โดยรวมแล้ว 42% ของการเปลี่ยนแปลงในการเป็น veg*nism ของผู้คน ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องของสุขภาพ 20% จากการคุ้มครองสัตว์ และ 18% จากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม แรงจูงใจทั่วไปเหล่านี้ไม่ได้มีผลใดๆ ต่อความสำเร็จในการควบคุมอาหารของพวกเขา เช่นเดียวกับการวิจัยครั้งก่อน แรงจูงใจด้านสุขภาพเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในการเป็น veg*nism ในขณะที่การวิจัยของ Faunalytics ปี 2014 พบว่าคนที่มีแรงจูงใจเป็นเรื่องสุขภาพเพียงอย่างเดียวนั้นมักจะละทิ้งการควบคุมอาหาร การวิจัยในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าในขณะที่คนเหล่านั้นอาจได้ลองเป็น veg*nism อย่างไม่ผูกมัด ผู้ที่มุ่งมั่นนั้นมีโอกาสค่อนข้างต่ำที่จะละเลยโดยไม่คำนึงถึงแรงจูงใจหลักของพวกเขา
คำแนะนำ
- ส่งเสริมให้ผู้คนค้นหา และพัฒนาแรงจูงใจที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง ไม่เพียงแต่จะส่งผลให้มีความสำเร็จในการปฏิบัติในการควบคุมอาหารแบบ veg*nism แต่ยังมีความมุ่งมั่นในการควบคุมอาหาร และการวิจัยจากขอบเขตอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าหากมีเป้าหมายที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง จะมีแนวโน้มี่จะบรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะสามารถช่วยให้ผู้คนระบุค่านิยมส่วนบุคคลหรือศีลธรรมที่มีอยู่สอดคล้องกับเป้าหมาย พยายามหลีกเลี่ยงความคิดจากคนอื่นหรือเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้อื่น
- ค่อย ๆ ส่งเสริมผู้ที่มีแรงจูงใจให้เป็น veg*nism ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อมให้เรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์จากการกระทำที่มีต่อสัตว์ด้วย ประสบการณ์ที่สร้างความรู้สึกตามที่ได้อธิบายไว้ในการค้นพบที่สำคัญ #3 ข้างต้นอาจจะช่วยได้ และจัดวางกรอบเป็นแรงจูงใจเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้พวกเขายึดมั่นในเป้าหมายได้ สิ่งนี้สำคัญดังที่เราทราบได้จากการวิจัยของ Faunalytics ปี 2014 ที่หลายคนพยายามเลิกเป็น veg*nism การช่วยเหลือผู้คนให้คงไว้ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นจำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอสนับสนุนจากผู้รณรงค์
- เมื่อรณรงค์ให้ผู้คนหันมาทานมังสวิรัติ การทานเจ หรือการลดการรับประทาน อย่าใช้แรงจูงใจด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่ควรควบคู่ไปกับการคุ้มครองสัตว์ และ/หรือ ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพเป็นแรงจูงใจหลักที่พบบ่อยที่สุดของการเป็น veg*nism ดังนั้นการกล่าวถึงประโยชน์ต่อสุขภาพอาจกระตุ้นให้ผู้คนจำนวนมากหันมาลองเป็น veg*nism แต่ในขณะเดียวกัน แรงจูงใจด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียวไม่เป็นผลดีต่อการควบคุมอาหารแบบ veg*nism ในระยะยาว ดังนั้นโปรดใช้ข้อความเหล่านี้ร่วมกับข้อมูลที่เกี่ยวกับประโยชน์ที่จะเกิดกับสัตว์และสิ่งแวดล้อมและทำต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่พวกเขาเริ่มก้าวแรกในการเดินทางสู่การเป็น veg*nism การแนะนำให้พวกเขาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อ การทำฟาร์มในโรงงาน สารคดี หรือสื่อรณรงค์เรื่องสัตว์อื่นๆ อาจจะทำให้เกิดประสิทธิภาพพิเศษ
รายงานอื่นๆ จากการวิจัยนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือเพื่อให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้แก่ผู้ที่รณรงค์เกี่ยวกับวิธีการช่วย veg*nism คนใหม่ๆ ให้ยังยอมรับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเขา นี่เป็นรายงานฉบับที่สองในชุดของรายงานสามส่วนที่ออกมาจากการวิจัยนี้
- รายงานครั้งแรก เรามุ่งเน้นในระดับของความสำเร็จโดยรวมและอธิบายความหลากหลายของวิธีที่ผู้คนเปลี่ยนไปสู่ veg*nism
- รายงานฉบับที่ 3 ที่จะตีพิมพ์ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า มุ่งเน้นไปที่คำถามสำคัญเกี่ยวกับประสิทธิผลของยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการเอาชนะอุปสรรคในการคงดำรงไว้ซึ่งการเป็น veg*nism
โครงการนี้มีข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งทั้งหมดจะถูกโพสต์ลงบน Open Science Framework เมื่อเราวิเคราะห์และตีพิมพ์แล้วเสร็จ ในระหว่างนี้ หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับการวิจัยเพิ่มเติมที่ต้องการให้เราพิจารณา โปรดติดต่อเราทางอีเมล [email protected]
ทีมวิจัยของเรา
ผู้เขียนโครงการคือ โจ แอนเดอร์สัน (Jo Anderson) (จาก Faunalytics) และ มารีน่า มิลียฟสคายา (Marina Milyavskaya) (จากมหาวิทยาลัย Carleton) อย่างไรก็ตาม โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่และไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลและองค์กรต่างๆ
เรารู้สึกขอบคุณมากสำหรับอาสาสมัครจาก Faunalytics เรนาตา ฮลาโววา (Renata Hlavová) เอริน กัลโลเวย์ (Erin Galloway) ซูซาน มาคารี่ (Susan Macary) และ ลินด์เซย์ เฟรเดอริค (Lindsay Frederick) สำหรับการสนับสนุนและความช่วยเหลือในงานนี้ เช่นเดียวกันมาร์ทา โคลบัสเซวสกา (Marta Kolbuszewska) เป็นนักเรียนจากมหาวิทยาลัย Carleton และผู้รณรงค์ด้านสัตว์หลายสิบคนที่ช่วยในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง นอกจากนี้เรายังรู้สึกขอบคุณ VegFund ผู้ประเมินการกุศลสำหรับสัตว์ และสภาวิจัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (SSHRC) สำหรับการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยครั้งนี้ สุดท้ายนี้ เราขอขอบคุณผู้ตอบแบบสำรวจทุกท่านที่สละเวลาและความพยายาม
วิธีการวิจัย
โครงการวิจัยนี้เน้นที่ประสบการณ์ของวีแกนและผู้ทานเจรายใหม่ (ในที่นี้จะเรียกรวมกันว่า veg*nisms เพื่อความสะดวก) ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ผู้เข้าร่วมต้องตอบแบบสำรวจเมื่อลงทะเบียนเข้าร่วม รวมทั้งแบบสำรวจติดตามผล 6 ชุดที่จะได้รับในทุกๆ เดือนในช่วงหกเดือนข้างหน้า
ข้อมูลของบุคคลที่เข้าร่วมการวิจัยนั้นเป็นตัวแทนของประชาชนทั่วไป แต่เรายังให้น้ำหนักผลลัพธ์เชิงบรรยายเพื่อให้ใกล้เคียงกับประชากรสหรัฐฯมากทีสุด สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการวิจัยสามารถดูได้ที่รายงานครั้งแรก
การเป็นตัวแทน การชั่งน้ำหนัก และการลดจำนวน
กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจำนวน 222 คน ซึ่งการวิเคราะห์กำลังก่อนการลงทะเบียนแสดงให้เห็นว่าเพียงพอที่จะตรวจพบผลกระทบที่มีนัยสำคัญในการวิเคราะห์ความถดถอยที่เราใช้ในการตรวจสอบคำถามหลักในการวิจัยของเรา แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างนี้จะมีขนาดเล็กกว่าที่คุณอาจเคยเห็นในการวิจัยของ Faunalytics แต่โดยทั่วไปแล้วตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่กว่านั้นมักใช้สำหรับการวิจัยที่มีเป้าหมายหลักประการหนึ่งคือการประมาณสถิติประชากร กลุ่มตัวอย่างประมาณ 1,000 คน แสดงความคลาดเคลื่อน 3.1% ในขณะที่การวิจัยปัจจุบันนี้มีความคลาดเคลื่อน 6.6% แม้ว่าสิ่งนี้อาจจะไม่ดีนักถ้าหากการประเมินสถิติประชากรเป็นเป้าหมายหลักของเรา แต่ตัวอย่างที่เล็กกว่าก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคำถามหลักในการวิจัยของเรา ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับขอบข้อความผิดพลาดได้ในส่วนคำแนะนำการวิจัยของเว็บไซต์ของเรา
เพื่อให้แน่ใจว่ากลุ่มตัวอย่างนี้เป็นตัวแทนของ veg*nisms รายใหม่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ เราได้ดำเนินการตามแผนการเปรียบเทียบก่อนการจดทะเบียนโดยการเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ (n = 11,399) ของ veg*nisms จากการวิจัยของ Faunalytics ปี 2014 เรายินดีที่พบว่ากลุ่มตัวอย่างในปัจจุบันตรงกับกลุ่มประชากรส่วนใหญ่อยู่แล้ว แต่เพื่อให้เกิดจำนวนตัวแทนสูงสุด เราจึงชั่งน้ำหนักผลลัพธ์เชิงพรรณนาให้ตรงกัน
โดยรวมแล้ว 65% ของผู้เข้าร่วมที่อยู่การวิจัยจนจบ เราตรวจสอบลักษณะของผู้ที่ออกจากการวิจัยและไม่พบหลักฐานของความแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างผู้ที่ทำสำเร็จและไม่สำเร็จ (การลดจำนวนเชิงอนุพันธ์) การตรวจสอบนี้ได้รับการอธิบายในรายละเอียดในรายงานครั้งแรก
บทสรุป
แหล่งที่มาของแรงจูงใจ
นอกจากแรงจูงใจที่ผลักดันให้ผู้คนหันมาเป็น veg*nism แล้ว การที่รู้ว่าแรงจูงใจนั้นมาจากที่ใดนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ในการวิจัยนี้ เราพบว่าทั้งแรงจูงใจที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองและแหล่งแรงจูงใจภายนอกเกี่ยวข้องกับการเข้าใกล้ระดับเป้าหมายของการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าแรงจูงใจที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองมักจะดีกว่าสำหรับการบรรลุและรักษาเป้าหมาย (Williams ปี 1996) ดังนั้น หากผู้รณรงค์กำลังมองหาคำแนะนำระหว่างทั้งสองอย่าง เราขอแนะนำให้สนับสนุนผู้คนในการพัฒนาจากแรงจูงใจที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะช่วยให้ผู้คนระบุวิธีที่ทำให้เป้าหมายด้านการทานอาหารของพวกเขาให้สอดคล้องกับค่านิยมที่พวกเขามีอยู่ หรือมุมมองของพวกเขาที่มีต่อตัวเอง แม้ว่าในปัจจุบันจะมีคนไม่เต็มใจที่จะเริ่มทานเจหรือเป็นทานมังสวิรัติก็ตาม การช่วยให้พวกเขาเห็นความสอดคล้องระหว่างการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์กับเป้าหมาย หรือเอกลักษณ์เหล่านั้นอาจช่วยให้พวกเขากลายเป็นคนที่มีความเป็นเผ่าพันธุ์นิยมน้อยลงและทำให้การลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ลดลงในอนาคต
แรงจูงใจภายนอก เช่น การเป็น veg*nism เพื่อปรับปรุงรูปลักษณ์ทางกายภาพ หรือเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้อื่นยังคงเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการบริโภค ดังนั้น คุณจึงไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงพวกเขา อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แรงจูงใจภายนอกอาจจะมีประโยชน์น้อยกว่าในการบรรลุและรักษาเป้าหมาย (Williams ปี 1996) เป็นเรื่องง่ายมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะเห็นว่ากรณีนี้จะนำไปสู่เป้าหมาย เช่น การลดน้ำหนักตามรูปลักษณ์ได้อย่างไร โดยที่ veg*nism เป็นเพียงหนทางไปสู่ความสำเร็จและทดแทนด้วยอาหารหรือวิธีการอื่นๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน หากไม่มีเหตุผลที่จะผลักดันตัวเองในการติดตามผลการเป็น veg*nism ก็ง่ายกว่าที่จะละทิ้งเพื่อให้เกิดกลยุทธ์การแข่งขัน
แนวคิดเผ่าพันธุ์นิยมและการขยายแนวคิดทางด้านศีลธรรม
ในกลุ่มตัวอย่างของคนที่มุ่งมั่นในการที่จะเป็น veg*nism ระดับของเผ่าพันธุ์นิยมในช่วงแรกจะต่ำมากอยู่เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไป และจะลดลงในช่วงหกเดือนแรกของการเปลี่ยนไปใช้วิธีการควบคุมอาหารแบบใหม่ นอกจากนี้ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเลิกทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์มากกว่าจะพบว่าระดับของแนวคิดเผ่าพันธุ์นิยมนั้นลดลงมากที่สุดในระดับของเผ่าพันธุ์นิยมช่วงหกเดือน
สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงสองสิ่งคือ ประการแรกที่เห็นได้ชัดคือความคิดที่ว่าสัตว์มีความเท่าเทียมกับมนุษย์มากขึ้น อาจทำให้ผู้คนมีแนวโน้มที่จะกำจัดผลิตภัณฑ์จากสัตว์ออกจากอาหารของพวกเขามากขึ้น ปัญหาคือการทำให้คนคิดว่าสัตว์มีความเท่าเทียมกับมนุษย์มากขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ยากและยังหาคำตอบไม่ได้ด้วยการวิจัย อย่างไรก็ตาม ประการที่สองเป็นขั้นตอนสู่คำตอบนั้น
นักวิจัยและผู้รณรงค์มักอ้างถึงแนวคิดปฏิพากย์เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ซึ่งก็คือความคิดที่ว่าหลายคนทานเนื้อสัตว์และเพลิดเพลินกับมัน แต่ไม่เพลิดเพลินกับการคิดว่าสัตว์ถูกฆ่าเพื่อเป็นอาหาร Faunalytics ได้เขียนเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้และวิธีที่ผู้คนหาเหตุผลเข้าข้างพฤติกรรมที่ขัดแย้งของตนเองหลายครั้ง (เช่น Benningstad & Kunst ปี 2020; Earle ปี 2019; Kunst & Hohle ปี 2016; Piazza ปี 2015; Tian ปี 2016).
เหตุผลที่เป็นไปได้ที่ยากในการโน้มน้าวให้ผู้คนขยายแนวคิดเชิงศีลธรรมของพวกเขาให้ครอบคลุมกับสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ นั้นเป็นเพราะแนวคิดปฏิพากย์เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ กล่าวโดยสรุป คนทานเนื้อมีแรงจูงใจอย่างมากที่จะเชื่อว่าสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์มีความสำคัญน้อยกว่ามนุษย์ เพราะพวกเขาต้องการที่จะทานต่อไป ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าแม้ว่าคนๆ หนึ่งจะตัดสินใจเป็น veg*nism ด้วยเหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมด้านสัตว์ ซึ่งก็ได้มีส่วนในการอธิบาย 80% ของผู้เข้าร่วมของเราที่กล่าวว่า แรงจูงใจที่แข็งแกร่งที่สุดของพวกเขาคือสุขภาพ สิ่งแวดล้อม หรือสิ่งอื่นที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้การเลิกใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ประสบความสำเร็จ หมายความว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลเข้าข้างตนเองอีกต่อไป และอาจมีความเป็นเผ่าพันธุ์นิยมน้อยลงไปอีก ในอีกทางหนึ่ง เราขอแนะนำว่าผู้รณรงค์ควรสนับสนุนให้ผู้คนหันมาเป็น veg*nism ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม และช่วยให้พวกเขาคงอยู่อย่างนั้น เพราะเมื่อพวกเขาทำอย่างนั้นสักระยะหนึ่งแล้ว พวกเขามีแนวโน้มที่จะยอมรับแนวคิดการต่อต้านเป่าพันธุ์นิยม
อิทธิพลเฉพาะ
ความเฉพาะเจาะจงป็นสิ่งสำคัญ ข้อมูลจากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญไม่เพียงมีแค่เหตุผลในการเป็น veg*nism เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีอิทธิพลเฉพาะหลายอย่างที่ชี้ไปที่แนวคิด veg*nism มีอิทธิพลเชิงบวกที่โดดเด่นที่สุดคือการดูสารคดี การดูสื่อที่ไม่น่าพอใจหรือภาพของสัตว์ในฟาร์ม และการได้รับข้อมูลจากกลุ่มผู้รณรงค์เรื่องสัตว์ ในขณะที่การได้รับข้อมูลจากคนดังและอินฟลูเอนเซอร์ดูเหมือนจะลดความสำเร็จลง โดยทั่วไปแล้วสิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้รณรงค์ควรสนับสนุนผู้ที่มีแรงจูงใจอยู่แล้วให้ไปเป็น veg*nism เพื่อทำการวิจัยต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการคุ้มครองสัตว์ไม่ใช่เป้าหมายหลักของพวกเขา พวกเขาสามารถสนับสนุนแรงจูงใจที่พวกเขามีอยู่แล้วด้วยแหล่งข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม ซึ่งสามารถกำหนดกรอบได้อย่างชัดเจนว่าเป็นคำแนะนำที่อ้างอิงอยู่บนหลักฐานเพื่อให้พวกเขามีแรงจูงใจในการบรรลุเป้าหมาย
การทำการวิจัยต่อไปกับคนที่เคยทานอาหารแบบ veg*nism อย่างจริงจัง มากกว่าการที่จะมุ่งเน้นไปที่การหาคนใหม่ๆเพื่อที่จะโน้มน้าวใจนั้นอาจจะมีประสิทธิภาพน้อยลงกว่าเดิม แต่อย่างที่เราทราบจากการวิจัยของ Faunalytics ปี 2014 ผู้คนจำนวนมากที่ล้มเลิกความพยายามที่จะเป็น veg*nism และการที่จะช่วยให้ผู้คนยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นจำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนที่อยู่ในข้อเสนอของผู้รณรงค์ ในระยะสั้น สิ่งนี้สามารถถูกใช้ในการนำเสนอในฐานะของข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นผลดี โดยการสร้างแรงจูงใจเพิ่มเติม และการแสดงให้เห็นว่าทางเลือกของคนๆหนึ่งสามารถเป็นปรโยชน์ได้ในหลายๆด้าน ในระยะยาวมันถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและทำให้ผู้คนยังคงเป็น veg*nism ต่อไป
แรงจูงใจทั่วไป: สัตว์ สิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพ?
แรงจูงใจทั่วไปในการเป็น veg*nism เช่น การปกป้องสัตว์ ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม หรือเป้าหมายด้านสุขภาพ จะได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้รณรงค์ การวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่มีแรงจูงใจด้านจริยธรรมมักจะเป็น veg*nism นานกว่าผู้ที่มีแรงจูงใจด้านสุขภาพ (Faunalytics ปี 2014; Hoffman ปี 2013) อย่างไรก็ตาม ในการวิจัยนี้ที่มุ่งเน้นไปที่ผู้ที่มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนวิธีการทานอาหาร เราพบว่าแรงจูงใจทั่วไปไม่ได้เป็นตัวทำนายความสำเร็จของแต่ละบุคคลในการปฏิบัติตามการควบคุมอาหารแบบ veg*nism ที่สำคัญ
หากเรามองไปที่การเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็น veg*nism ผ่านเลนส์ของแบบจำลองเชิงทฤษฎี (Bryant ปี 2021) บุคคลจะต้องผ่านหลายขั้นตอน โดยเริ่มจากขั้นตอนก่อนการไตร่ตรอง (พวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่า veg*nism เป็นทางเลือก) การพิจารณา (พิจารณาที่จะเป็น veg*nism) การเตรียมการ (การตัดสินใจทีจะลองเป็น veg*nism) การกระทำ (พยายามที่จะเป็น veg*nism อย่างสม่ำเสมอ) และการบำรุงรักษา (การหาทางที่จะหลีกเลี่ยงการกลับไปเป็นเหมือนเดิม) กลุ่มบุคคลในการวิจัยของเราได้รับคัดเลือกในระหว่างขั้นตอนการเตรียมการ หรือขั้นตอนการดำเนินการในการเปลี่ยนไปเป็น veg*nism ไม่ว่าจะเป็นคนที่กำลังจะเริ่มต้นหรือคนที่เพิ่งจะเริ่มต้นก็ตาม
การวิจัยในอดีตและปัจจุบันของเราเกี่ยวกับการคงอยู่และการละทิ้งการเป็น veg*nism แสดงให้เห็นว่าแรงจูงใจโดยทั่วไปของแต่ละบุคคลมีความสำคัญในขั้นตอนการพิจารณาและการเตรียมการเปลี่ยนแปลงมากกว่าในขั้นตอนการดำเนินการและขั้นตอนการคงอยู่ในภายหลัง เมื่อคุณได้อ่านพาดหัวข่าวว่ามีคนจำนวนหนึ่งที่เป็นเคยเป็น veg*nism ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากเมื่อเรากำลังพูดถึงคนที่เป็น veg*nism ในระดับที่กำลังจะลองทานอาหารแบบ veg*nism (ขั้นตอนการเตรียมการ) กับผู้ที่เป็น veg*nism ในระดับที่พวกเขามุ่งมั่นที่จะเป็น veg*nism ต่อไป (ขั้นตอนการดำเนินการ)
การวิจัยของ Faunalytics ปี 2014 พบว่า 84% ของ veg*nisms ได้ล้มเลิกความพยายามในการทานอาหารของพวกเขา ซึ่งในที่นี้กล่าวถึงทั้งอาหารมังสวิรัติและอาหารเจ เพื่อเป็นการรวมกลุ่มตัวอย่างที่ได้ลองหนึ่งในอาหารเหล่านั้นในช่วงเวลาของการวิจัย การวิจัยในปัจจุบันซึ่งประเมินอัตราการละทิ้งอยู่ที่ระหว่าง 9% ถึง 43% (ดูที่รายงานฉบับแรก) ซึ่งได้มีการอธิบายว่าเป็นการวิจัยที่จะใช้เวลาหกเดือนตั้งแต่ต้น คำอธิบายนี้น่าจะทำให้ผู้ที่เพียงแค่ต้องการ “ทดลอง” การควบคุมอาหารในการเข้าร่วมเกิดความรู้สึกท้อแท้ เนื่องจากพวกเขาไม่เคยตั้งใจที่จะควบคุมอาหารเป็นเวลาหกเดือนหรือมากกว่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ละทิ้งการเป็น veg*nism จะสูงกว่ามาก เมื่อเรารวมผู้ที่อยู่ในขั้นตอนการเตรียมการไม่ใช่แค่เฉพาะผู้ที่มาถึงขั้นตอนการดำเนินการ
สิ่งนี้หมายความว่าอย่างไรสำหรับผู้ที่รณรงค์เรื่องการรับประทานอาหารจากพืช กล่าวโดยสรุปก็คือการใช้ข้อความด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีแต่ควรใช้ควบคู่ไปกับข้อความด้านการคุ้มครองสัตว์ และ/หรือ ข้อความด้านสิ่งแวดล้อมที่ใช้คำว่า“ควร”เพราะสุขภาพเป็นแรงจูงใจหลักที่พบบ่อยที่สุดในการเป็น veg*nism และการส่งข้อความด้านสุขภาพอาจกระตุ้นให้ผู้คนสนใจ veg*nism มากขึ้น อย่างไรก็ตามการวิจัยของ Faunalytics ในปี 2014 พบว่าการที่สุขภาพเป็นแรงจูงใจเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น หากคุณมุ่งเน้นไปให้ความสำคัญกับสุขภาพเพียงอย่างเดียว หลายคนที่คุณโน้มน้าวให้ลองเป็น veg*nism อาจไม่ยึดติดกับสิ่งนี้ในระยะยาว
ด้วยเหตุนี้ เราขอแนะนำให้คุณใช้ข้อความด้านสุขภาพร่วมกับข้อมูลที่พูดถึงว่าทางเลือกของผู้คนที่เป็น veg*nism แต่ละคนเลือกส่งผลดีต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อมอย่างไร และทำสิ่งนี้ต่อไปในขณะที่พวกเขาเริ่มก้าวแรกในการเดินทางสู่การเป็น veg*nism ตามที่ระบุไว้ในหัวข้อเกี่ยวกับอิทธิพลเฉพาะ วิดีโอเกี่ยวกับความเป็นจริงอันไม่พึงประสงค์ของการทำฟาร์มแบบโรงงาน สารคดี และการพูดคุยกับผู้รณรงค์เรื่องสัตว์ วิธีโดยทั่วไปที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการช่วยให้ผู้คนประสบความสำเร็จ โดยไม่คำนึงถึงแรงจูงใจหลักในการเป็น veg*nism
