สวัสดิภาพปลา: เราควรช่วยเหลือใครก่อน?
[This post has been translated from English to Thai. You can find the original post here. This translation was made possible with support from World Animal Protection courtesy of a grant from the Open Philanthropy Project.]
การศึกษาอย่างกว้างๆ อย่างเช่น “สวัสดิภาพปลา” ก็เหมือนกับการศึกษา “สวัสดิภาพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม” แม้กระทั่ง หนูและช้างก็ยังมีความต้องการอาหาร น้ำ และที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน ในทำนองเดียวกัน ปลาชนิดต่างๆ ก็มีความต้องการในเรื่องของอุณหภูมิ ค่า pH และระดับออกซิเจนในน้ำที่ต่างกัน แม้จะมีการเลี้ยงปลาหมื่นล้านตัวต่อปี แต่เราแทบไม่รู้ถึงปัจจัยขั้นพื้นฐานที่เอื้อต่อสวัสดิภาพของปลาเลย ในบทความนี้ นักวิจัยจากองค์กร Fish Welfare Initiative ได้ศึกษาถึงปัจจัยเหล่านี้ ตลอดจนการปรับปรุงสวัสดิภาพสัตว์ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
นักวิจัยเริ่มสำรวจ 26 ประเทศที่มีการเปิดกิจการฟาร์มเลี้ยงปลา พวกเขาประเมินประเทศเหล่านี้ตามเกณฑ์หลายประการ เช่น ความสะดวกในการจัดตั้งองค์กรสวัสดิภาพใหม่ ความสามารถในการโน้มน้าวการปกครองส่วนท้องถิ่น และทัศนคติของท้องถิ่นที่มีต่อสวัสดิภาพปลา พวกเขาพบว่ามี 6 ประเทศที่มีแนวโน้มที่จะปรับปรุงสวัสดิการ ได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน และฟิลิปปินส์
นักวิจัยได้จำกัดความสนใจไปที่ปลาที่เลี้ยงกันมากที่สุดในประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ปลากระโห้อินเดีย ปลาสวาย ปลายี่สกเทศ ปลานิล ปลานวลจันทร์ทะเล และปลาโมง ปลาเหล่านี้ได้รับการเลี้ยงเป็นจำนวนมากเพราะสามารถอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ตาม แม้พวกมันจะไม่ตายง่ายๆ จากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกมันจะไม่ลำบากในการดำรงชีวิต การปรับปรุงสวัสดิภาพปลาอย่างแท้จริงไม่ได้หมายถึงการรักษาชีวิตไว้เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการป้องกันไม่ให้พวกมันลำบากในการดำรงชีวิตอีกด้วย
จากนั้นนักวิจัยได้พิจารณาปัจจัย 5 ประการที่แตกต่างกัน เพื่อพิจารณาว่าปลาสายพันธุ์ใดจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการปรับปรุงสวัสดิภาพ ได้แก่ ความไวต่อสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ จำนวนปลาที่เลี้ยงในฟาร์มทั้งหมด ความแออัด และความสามารถในการควบคุม พวกเขาระบุว่าความสามารถในการควบคุมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การแทรกแซงถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้หากมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าสามารถก้าวไปสู่สวัสดิภาพที่ดีขึ้นได้ นักวิจัยตั้งใจที่จะไม่คำนึงถึงปัจจัยใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของสัตว์ หนึ่งในเป้าหมายของพวกเขาคือการช่วยกำหนดอนาคตของการวิจัยสวัสดิภาพปลา และพวกเขาไม่ต้องการคำแนะนำว่าควรตรวจสอบปลาแต่ละสายพันธุ์เพื่อคำนึงความรู้สึกของสัตว์ก่อนศึกษาการปรับปรุงสวัสดิภาพ บางส่วนของชุมชนนักวิทยาศาสตร์ยังคงมีการอภิปรายถึงความรู้สึกของสัตว์ แต่มีการพิสูจน์พบว่าไม่ควรนำไปเป็นข้อกําหนดเบื้องต้น
จากนั้นนักวิจัยได้ใช้แบบจำลองปัจจัยถ่วงน้ำหนัก ซึ่งแต่ละปัจจัยจะได้รับน้ำหนักที่นำไปสู่คะแนนสุดท้าย ตัวอย่างเช่น “ความสามารถในการควบคุม” โดยให้น้ำหนัก 25% และ “สภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่” โดยให้น้ำหนัก 20% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุมนั้นมีความสำคัญมากขึ้นเล็กน้อยสำหรับการปรับปรุงสวัสดิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาที่ใช้ในการวิจัยเรื่องการควบคุมนั้นมีค่ามากกว่าเวลาที่ใช้ในการค้นคว้าเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่เล็กน้อย จากการวิจัยเพิ่มเติม พวกเขาให้คะแนนจากหนึ่งถึงสามให้กับแต่ละปัจจัยสำหรับปลาแต่ละสายพันธุ์ ตัวอย่างเช่น ปลานวลจันทร์ทะเลได้รับคะแนนสามคะแนนสำหรับปัจจัย “การดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่” ซึ่งบ่งชี้ว่าสภาพความเป็นอยู่ของปลานวลจันทร์ทะเลนั้นยากต่อการดำรงชีวิต ในส่วนของการให้น้ำหนักพวกเขาคำนวณคะแนนโดยรวมสำหรับปลาแต่ละสายพันธุ์ที่กำหนดว่าการควบคุมด้านสวัสดิภาพจะมีประสิทธิภาพเพียงใด คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าปลากระโห้อินเดียจะได้รับประโยชน์จากการควบคุมด้านสวัสดิภาพมากที่สุดเนื่องจากมีการเลี้ยงเป็นจำนวนมาก (คาดว่าจะมีปลาประมาณ 1.5 ถึง 9.9 พันล้านตัวในปี 2018) และสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ของพวกมันในฟาร์มเลี้ยงปลา
โดยรวมแล้ว นักวิจัยพบว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขสวัสดิภาพในฟาร์มเลี้ยงปลาไม่มากนัก เกษตรกรผู้เลี้ยงปลามักไม่ค่อยจัดทำและเผยแพร่สภาพของฟาร์มของพวกเขา และมีการค้นคว้าที่น้อยมากเกี่ยวกับสภาพที่เหมาะสมซึ่งหาข้อมูลได้ง่ายอย่างเช่นอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมสำหรับปลาแต่ละสายพันธุ์ แทนที่จะสร้างคู่มือฉบับสมบูรณ์เพื่อพัฒนาสวัสดิภาพปลาที่ดีที่สุด นักวิจัยหวังว่าการวิจัยของพวกเขาจะช่วยดึงความสนใจไปที่สาเหตุของสวัสดิภาพปลาที่ยังไม่ได้รับการศึกษา เมื่อมีองค์กรต่างๆเริ่มค้นคว้าเกี่ยวกับสวัสดิภาพปลา เรามองภาพได้ว่าเราจะสร้างสภาพความเป็นอยู่ของปลาให้ดีขึ้นได้อย่างไร และเราจะสามารถรณรงค์เกี่ยวกับการควบคุมที่เหมาะสมได้อย่างไร
