ข้อมูลการค้าสัตว์ป่า 15 ปีบอกอะไรเราบ้าง?
[This post has been translated from English to Thai. You can find the original post here. This translation was made possible with support from World Animal Protection courtesy of a grant from the Open Philanthropy Project.]
การค้าสัตว์ป่าทั่วโลกเป็นปัญหาใหญ่ และยังเป็นปัญหาที่ถูกจัดหมวดหมู่เป็นของตัวเอง ในศูนย์ข้อมูลงานวิจัยของ Faunalytics ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ประเด็นด้านสวัสดิภาพแต่เป็นการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่เป็นสัตว์ป่า เช่น การค้าสัตว์ป่าเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง และชิ้นส่วนของพวกมันส่งผลกระทบโดยตรงในเชิงลบอย่างมากต่อสัตว์ที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบทางอ้อมนั้นมีความรุนแรงยิ่งกว่า เนื่องจากเป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และก่อให้เกิดปัญหาทางนิเวศวิทยาอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน
การค้าสัตว์ป่ามีสองมิติหลักที่สำคัญคือ
1. การค้าที่ผิดกฎหมายโดยกลุ่มและบุคคลต่างๆ ที่ฆ่าหรือจับสัตว์ป่าเพื่อใช้และทารุณในตลาดมืด
2.การค้าสัตว์ป่าที่ถูกกฎหมายซึ่งบางชนิดขายเป็นสัตว์เลี้ยงหรือใช้เป็นชิ้นส่วนในลักษณะที่อยู่ในกรอบของกฎหมาย
สิ่งสำคัญคือมิติข้อมูลทั้งสองนี้มีความเหลื่อมล้ำกันมาก เพราะสิ่งที่ถูกกฎหมายในประเทศหนึ่งอาจไม่ได้อยู่ในอีกประเทศหนึ่ง และการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายจำนวนมากรวมถึงกิจกรรม “การฟอก” ที่ช่วยให้สายพันธุ์และผลิตภัณฑ์บางประเภทมาจากแหล่งที่ถูกกฎหมาย การทับซ้อนกันระหว่างการค้าทั้งสองประเภททำให้เกิดการวิเคราะห์อุตสาหกรรมโดยรวมเป็นความพยายามที่ยากมาก
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์นี้คือการตรวจสอบการนำเข้าสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าของสหรัฐฯ โดยมุ่งเน้นที่ขอบเขตและความกว้างของการค้าที่ถูกกฎหมาย แม้ว่าการค้าที่ผิดกฎหมายจะมีความสำคัญและได้รับความสนใจอย่างมากแบบที่มันควรจะเป็น แต่เราสามารถเห็นภาพได้เพียงแต่จากข้อมูลที่หน่วยงานรัฐสามารถจับได้เท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นการคาดเดาและการประมาณการ เพื่อทำการวิเคราะห์เราได้ตรวจสอบข้อมูลในช่วงเวลา 15 ปี (2000-2014) จากระบบข้อมูลการจัดการการบังคับใช้กฎหมาย (LEMIS) ซึ่งเดิมรวบรวมโดย United States Fish and Wildlife Service (USFWS) ตรวจสอบและแก้ไข กำหนดมาตรฐาน และเก็บไว้ใน R แพคเกจที่เรียกว่า Lemis โดย EcoHealth Alliance คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดข้อมูลนี้ได้ที่นี่
โลกแห่งความทุกข์: แนวโน้มและผลโดยรวมในปี 2000-2014
สิ่งแรกที่ปรากฏจากการดูสถิติคือช่วงเวลาของการค้าสัตว์ป่าอย่างถูกกฎหมายซึ่งเป็นข้อมูลระยะเวลา 15 ปี การค้าถูกกฎหมายนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งมากกว่า 2 ล้านครั้ง ประกอบด้วยกลุ่มทางชีวภาพมากกว่า 60 กลุ่ม และสิ่งชีวิตมากกว่า 3.2 พันล้านชนิด แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวอาจดูน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อเป็นอาหารทุกปี แต่ก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่านี่เป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศน์และสัตว์แต่ละชนิดที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศน์เหล่านั้น
จากในกราฟที่แสดงอยู่ด้านล่าง คุณจะสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนการจัดส่งที่ไม่ซ้ำกันต่อปี มูลค่าเงินดอลลาร์ต่อปี จำนวนรายการต่อปี และน้ำหนักโดยรวมของการจัดส่งต่อปี
ในกราฟถัดไปทางด้านล่าง เราสามารถเห็นรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งก็คือมูลค่าการนำเข้าตามปีที่จัดส่งและจัดเก็บภาษี กราฟนี้เริ่มมีการแยกแยะว่าสัตว์ชนิดใดที่ “มีค่า” มากที่สุดในแต่ละปี ในแต่ละช่วงเวลา และแสดงให้เห็นถึงจุดสูงสุดในช่วงเวลาต่างๆ
ในปัจจุบันส่วนใหญ่ของสายพันธุ์ในชุดข้อมูลนี้ไม่ได้รับการรายงานโดยอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศของสายพันธุ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์หรือ CITES ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีจุดมุ่งหมาย “เพื่อให้การค้าระหว่างประเทศในส่วนของสัตว์ป่าและพืชจะไม่คุกคามสำหรับการอยู่รอดของพวกมัน” แม้ว่าจะเป็นคำสั่งที่ฟังดูกว้างแต่ในทางปฏิบัติ CITES จัดการสิ่งที่พวกเขาทำโดยพิจารณาจากความเปราะบางของสปีชีส์ โดยสปีชีส์ได้รับการจัดอันดับใกล้เคียงกับ IUCN Red List และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดจะได้รับความสนใจมากขึ้น
กราฟด้านล่างนี้แสดงจำนวนการขนส่งสัตว์ป่าระหว่างปี 2000-2015 ที่ถูกปฏิเสธหรือระบุว่าผิดกฎหมาย แม้ว่าจำนวนการขนส่งที่ถูกปฏิเสธจริงอาจผันผวนได้หลายพันครั้งในแต่ละปี แต่การปฏิเสธยังคงที่ตามสัดส่วนโดยประมาณ 2% ของการจัดส่งทั้งหมดหรือต่ำกว่านั้น เปอร์เซ็นต์ที่ต่ำเป็นประวัติการณ์เหล่านี้เผยให้เห็นปัญหาสำคัญคือ การไม่มีการคำนึงถึงมาตรการดำเนินการเพื่อขจัดการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย ทำให้การค้าส่วนใหญ่นั้นถูกกฎหมาย และอยู่นอกเหนือความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลหรือกลุ่มของรัฐบาล
สุดท้ายนี้ เรามาดูประเทศต้นทางและท่าเรือขาเข้าที่พบบ่อยที่สุด โดยเน้นที่ 10 อันดับแรก แม้ว่าประเทศต้นกำเนิดหลายๆ ประเทศอาจไม่เป็นที่น่าแปลกใจเทื่อพิจารณาถึงสิ่งที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่าทั่วโลก แต่ประเทศอื่นๆ เช่น แคนาดานั้นเป็นที่ที่น่าแปลกใจโดยรวมตั้งแต่ปี 2000-2014 การจัดส่งไปยังสหรัฐอเมริกามาจากประเทศต้นทาง 252 ประเทศ โดย 75% ของการจัดส่งทั้งหมดมาจาก 15 ประเทศอันดับต้นๆ ในกราฟที่อยู่ทางด้านล่าง เราสามารถเห็นประเทศต้นทาง 10 อันดับแรกในแง่ของจำนวนสินค้าทั้งหมด และท่าเรือชั้นนำในการขนส่งเข้าสู่สหรัฐอเมริกาตามเปอร์เซ็นต์ของการจัดส่งทั้งหมด เราจะเห็นได้ทันทีว่าจีนและฟิลิปปินส์แซงหน้าประเทศต้นทางได้เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ขณะที่ท่าเรือสี่แห่ง ได้แก่ ลอสแองเจลิส นิวยอร์กซิตี้ ไมอามี และนิวอาร์ก คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ของการขนส่งทั้งหมด
เจาะให้ลึกลงไป
เมื่อได้เห็นภาพโดยรวมกว้างๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น รายละเอียดที่น่าสนใจจะปรากฏขึ้นหากเราพิจารณาให้ละเอียดยิ่งขึ้น ในชุดกราฟด้านล่าง เราจะดูประเภทสิ่งของที่มีการแลกเปลี่ยนกันทั่วไปเป็นอันดับแรก โดยเผยให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอยและสิ่งมีชีวิตมีสัดส่วนมากกว่าอย่างอื่น ในแท็บที่ 2 เราจะพิจารณารายการที่มีการซื้อขายกันมากที่สุดตามน้ำหนัก ซึ่งเผยให้เห็นว่าเนื้อสัตว์และสัตว์ที่ตายแล้วนั้นอยู่ในอันดับต้นๆ ในขณะที่หมวดหมู่ “ไม่ระบุ” จะทิ้งคำถามที่ยังไม่ได้ตอบไว้
อันที่จริง เมื่อมองอย่างใกล้ชิดมากขึ้นจะเผยให้เห็นว่าการค้าสัตว์ป่าเป็นโลกที่แปลกประหลาด ดูได้จากประเภทของสิ่งของและมูลค่าของพวกมัน ในชุดกราฟด้านล่าง เราจะเห็นมูลค่าการนำเข้าโดยรวมสำหรับสินค้าประเภทต่างๆ ตามคำอธิบาย และราคานำเข้าเฉลี่ยต่อหน่วยของสินค้าต่างๆ เราสามารถเห็นได้ว่างาช้างยังคงเป็นสินค้าที่มีการขนส่งและค้าขาย แม้ว่าการค้าระหว่างประเทศและการค้าขายในเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่จะผิดกฎหมานตั้งแต่ปี 1990 แต่ทำไมในสหรัฐอเมริกาถึงมี กฎระเบียบอนุญาตให้สามารถนำเข้างาช้างได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายในฐานะของที่ระลึกจากการล่าสัตว์ และยังอนุญาตให้ “สินค้าที่ผลิตก่อนประกาศว่าผิดกฎหมาย” สามารถซื้อขายข้ามรัฐได้ ในขณะที่รายการที่หายากมากขึ้น เช่น คาลิปี (calipee) หรือ สารเมือกจากเปลือกล่างของเต่า กลับสามารถขายได้มูลค่าเกือบ $ 1,700 ต่อหน่วย
เมื่อเรานึกถึงเรื่องทั้งหมดนี้ มันทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าทำไมการค้าขายทั้งหมดนี้จึงเกิดขึ้น และลักษณะของห่วงโซ่อุปทานคืออะไร แม้ว่าข้อมูลจะทำให้เห็นภาพได้อย่างสมบูรณ์ แต่ก็มีเหตุผลที่เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าทำไมจึงมีการนำเข้าสัตว์และชิ้นส่วนของสัตว์ ในกราฟด้านล่าง เราจะเห็นเหตุผลที่เป็นที่นิยมสูงสุดว่าทำไมสัตว์และชิ้นส่วนจึงถูกนำเข้า และในทางกลับกัน ก็มีการระบุแหล่งที่มาจากประเทศผู้ส่งออก แม้ว่าจะมีความแตกต่างที่น่าสนใจอยู่บ้าง แต่สินค้าส่วนใหญ่นำเข้าเพื่อการพาณิชย์ (หรือเพื่อเป็นของที่ระลึกจากการล่าสัตว์) และสินค้าส่วนใหญ่ถูกนำมาจากป่าหรือเลี้ยงไว้ในกรงขัง
ภาพรวมที่แสดงออกมานั้นน่าผิดหวัง การค้าสัตว์ป่าอย่างถูกกฎหมายดูเหมือนจะมีการดำเนินการอย่างจริงจัง เปิดเผยในที่โล่งแจ้ง และการแทรกแซงทางกฎหมายมีน้อยมาก การเจาะลึกในรายละเอียดช่วยให้เราเปิดเผยความแตกต่างและความเฉพาะเจาะจงบางอย่างของการค้าขายได้ มันเป็นสิ่งที่สำคัญในฐานะผู้รณรงค์เรื่องสัตว์ที่จะต้องคิดให้ไกลกว่าชุดข้อมูลนี้ ไม่ว่าจะเป็นชุดข้อมูลของการค้าที่ถูกกฎหมาย และวิธีที่เราจะลดการค้าและลดผลกระทบในอนาคตได้
ปี 2015 และต่อจากนั้น: การเพิ่มขึ้นของการจับกุมและบทบาทของการทุจริต
แน่นอนว่าการค้าสัตว์ป่ายังไม่สิ้นสุดในปี 2014 และยังคงดำเนินต่อไปอย่างจริงจัง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ออกรายงานในปี 2020 กล่าวถึงการลักลอบค้าสัตว์คุ้มครองโดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากการวิเคราะห์ข้างต้นซึ่งพิจารณาการค้าที่ถูกกฎหมาย ในที่นี้ UNODC พิจารณาถึงมิติต่างๆ ของการค้าที่ผิดกฎหมาย ตั้งแต่จำนวนการจับกุมและมูลค่า การแยกย่อยตามสายพันธุ์ ไปจนถึงบทบาทของการให้สินบนและการเงินที่ผิดกฎหมายในทางพฤตินัย
ผลการวิจัยบางส่วนจากรายงานเป็นประเด็นที่สับสน ขึ้นอยู่กับมุมมองของคุณ หลังจากการยึดครองสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายในช่วงสั้นๆ ในปี 2014 และ 2015 การจับกุมเพิ่มขึ้นในปี 2016 และ 2017 นี่อาจเป็นข่าวดี เพราะมันหมายความว่ามีการบังคับใช้กฎหมายเพิ่มขึ้น และทางการเริ่มจับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายได้ดีขึ้น ในทางกลับกัน อาจหมายความว่าการบังคับใช้ยังคงเหมือนเดิมในขณะที่การลักลอบค้าสัตว์เพิ่มสูงขึ้น บางทีมันอาจจะเป็นการผสมของทั้งสองอย่าง แต่เราไม่รู้แน่ชัด ในส่วนของรายงานนั้น ไม่ได้มีการชี้แจงประเด็นนี้ โดยสังเกตว่าข้อมูลการจับกุมนั้นแตกต่างกันไปทั้งในด้านคุณภาพและความหมาย “ในขณะที่การตรวจยึดเป็นตัวบ่งชี้ที่ไม่สมบูรณ์” รายงานระบุว่า “มันมีศักยภาพที่จะให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเมื่อมีปริมาณเพียงพอ พวกเขาไม่สามารถนำไปใช้ตามมูลค่าโดยผิวเผินหรือตีความด้วยกลไก แต่สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานที่เป็นรูปธรรมของกิจกรรมทางอาชญากรรมที่ถูกบดบังจากการมองเห็น”
การค้นพบอื่น ๆ บางส่วนมีความชัดเจนมากขึ้น รายงานนี้ระบุประเด็นพิเศษในการค้าสัตว์ป่าและการลักลอบล่าสัตว์ป่าเชื่อมโยงกับกลุ่มอาชญากรอย่างไรบ้าง:
กลุ่มอาชญากรข้ามชาติดำเนินการข้ามพรมแดน ซึ่งมีพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายรวมถึงการฟอกเงินที่ได้จากการก่ออาชญากรรม เจ้าหน้าที่ที่ทุจริตหรือมีส่วนในการทุจริตและการทำงานอย่างแข็งขันเพื่อขัดขวางกระบวนการยุติธรรม กลุ่มดังกล่าวใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการขนส่งและการเงินที่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ รายงานนี้เน้นย้ำว่าคุณลักษณะเหล่านี้ส่วนใหญ่มีอยู่ในรูปแบบที่ร้ายแรงที่สุดของอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า ขนาดและความสามารถในการขนส่งที่ผิดกฎหมายที่บันทึกไว้ในรายงานนี้จำเป็นต้องมีการขนส่งที่ซับซ้อนและเครือข่ายที่เข้มแข็งซึ่งบ่งบอกถึงลักษณะการจัดระเบียบของอาชญากรรมเหล่านี้และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมากในการลักลอบค้าสัตว์
พวกเขายังคงสังเกตต่อไปว่าประเด็นการทุจริตและวิธีที่แสดงออกทั้งในและนอกห่วงโซ่อุปทาน เป็นปัญหาหลักที่ต้องจัดการ: “มันมีอยู่ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ที่รับสินบนและสมรู้ร่วมคิดกับอาชญากร การใช้ตำแหน่งในทางที่ผิด และการยักยอกทรัพยากรที่จัดสรรให้กับการจัดการและคุ้มครองสัตว์ป่า สินบนที่จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่สามารถเป็นส่วนสำคัญของต้นทุนโดยรวมของการค้าสัตว์ป่า”
การระบาดของโรคที่ควรคำนึงถึงและทิศทางในอนาคต
นับตั้งแต่ที่โลกได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ทั่วโลกในรูปแบบของ COVID-19 ดูเหมือนว่าสิ่งที่เราพูดถึงส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีเครื่องหมายดอกจันอยู่ข้างๆเพื่อเน้นย้ำข้อมูลที่กล่าวถึงในที่นี้สามารถบอกเราได้มากมายเกี่ยวกับ “ปีทั่วๆไป” ของการค้าสัตว์ป่า และสามารถช่วยชี้ให้เห็นแนวโน้มเมื่อเวลาผ่านไปได้อย่างแน่นอน แต่แล้วปี 2020 และปีต่อๆไปจะเป็นอย่างไร การค้าสัตว์ป่าจะเป็นอย่างไรในโลกหลังโควิด
ปี 2020 เป็นปีที่ยอดเยี่ยมในทุกๆด้าน แต่เมื่อโลกต้องหยุดชะงักชั่วคราวในช่วงกลางเดือนมีนาคม การเดินทางโดยทั่วไปก็หยุดชะงักไปพร้อมกับโลก เนื่องจากต้นกำเนิดของCOVID-19ถูกระบุไปที่ตลาดเปิดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน กลุ่มอนุรักษ์และอีกหลายๆกลุ่มเริ่มเรียกร้องให้ยุติ “ตลาดสด” ซึ่งเป็นที่ที่แฝงอยู่ซึ่งการเหยียดเชื้อชาติตั้งแต่เริ่มต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปหลายกลุ่มได้ใช้ความพยายามร่วมกันมากขึ้นเพื่อขยายจุดโฟกัสเพื่อเรียกร้องให้มีข้อจำกัดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่าให้ครอบคลุมมากขึ้น อย่างที่เราเห็นจากข้อมูล 15 ปีข้างต้น มีสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่มากมายที่ถูกซื้อขายกันทั่วโลกทุกปี และสัตว์แทบทุกชนิดนั้นสามารถทำหน้าที่เป็นพาหะนำโรคได้เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสม
แม้ว่าเราจะยังไม่สามารถสรุปผลที่แน่ชัดของผลกระทบที่ COVID-19 มีต่อการค้าสัตว์ป่าในปี 2020 ได้ แต่ข้อมูลเบื้องต้นบางอย่างดูเหมือนว่าจะบ่งชี้ว่าการเดินทางทั่วโลกที่ชะลอตัวนั้นส่งผลกระทบในบางภูมิภาค เช่น แอฟริกาใต้รายงานว่าการลักลอบล่าแรดลดลง 33% ในปี 2020 การวิเคราะห์โดย National Geographic พบว่าการตรวจยึดงาช้าง เขาแรด และตัวนิ่มลดลงในปี 2020 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2017 แต่การวิเคราะห์เดียวกันนี้ยังระบุด้วยว่า “ตัวชี้วัดอื่นๆที่เกี่ยวกับอาชญากรรมต่อสัตว์ป่าได้มีการเพิ่มขึ้น รวมถึงการลักลอบล่าสัตว์และการขายสัตว์หรือชิ้นส่วนของสัตว์ออนไลน์ ซึ่งเน้นย้ำถึงความยากลำบากในการสรุปผลจากข้อมูลการจับกุมเพียงอย่างเดียว” ในขณะเดียวกัน COVID-19 ได้มีการตรวจสอบการค้าสัตว์ป่าโดยทั่วไปมากขึ้น และความคิดเห็นของสาธารณชนในประเทศต่างๆ เช่น จีนซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อสำหรับการค้าทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนอย่างมากสำหรับข้อจำกัดดังกล่าว
สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณแห่งความหวังหรือเป็นเพียงสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ บนเส้นทางที่ลดลงสำหรับสัตว์ป่าที่ถูกจับในการค้าโลกซึ่ง COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบในเชิงลึกต่อทุกสิ่งในระดับสากลจึงอาจยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่า สิ่งที่เราทราบก็คือตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการชะลอตัวทั่วโลกโดยรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการเดินทาง การท่องเที่ยว และการขนส่ง สามารถส่งผลในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรสัตว์ป่าทั่วโลก ยังไม่ชัดเจนว่าผลกระทบที่ยั่งยืนของการชะลอตัวจาก COVID-19 จะเป็นอย่างไร จะเกิดขึ้นอย่างถาวรหรือไม่ หรือการค้าสัตว์ป่าจะกลับมาสู่ระดับปกติ (หรือแย่ลงไปอีก) ในระหว่างนี้ แนวโน้มทางประวัติศาสตร์เหล่านี้สามารถแสดงให้เราเห็นว่าการค้าขายเกิดขึ้นที่ใด มีการดำเนินการอย่างไร และอาจมีจุดอ่อนที่ผู้รณรงค์ด้านสัตว์สามารถมุ่งเน้นที่จะทำการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิผลมากที่สุดได้อย่างไรบ้าง
การวิเคราะห์และการรายงานเบื้องต้นสำหรับโครงการนี้จัดทำจนเสร็จสมบูรณ์โดย ซาร่า มาริน โลเปซ (Sara Marín López) อาสาสมัครของ Faunalytics โดยใช้ชุดข้อมูล LEMIS ฉบับเต็ม
