ตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเอเชีย
[This post has been translated from English to Thai. You can find the original post here. This translation was made possible with support from World Animal Protection courtesy of a grant from the Open Philanthropy Project.]
จำนวนปลาและหอยถูกฆ่าเพื่อนำมาประกอบอาหารเพิ่มขึ้นในแต่ละปี มีผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นจาก 141 เป็น 158 ล้านตันระหว่างปี 2007 ถึง 2012 นอกเหนือจากการเพิ่มขึ้นนี้ ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงความกังวลด้านจริยธรรม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงสมัยใหม่มากขึ้น
แต่มีการแยกกันอยู่หลายระดับระหว่างผู้รณรงค์เรื่องสัตว์และสัตว์ทะเลที่กำลังทุกข์ทรมาน การแปรรูป การขนส่ง และการตลาดเป็นตัวอย่างของส่วนสำคัญในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้นในตลาดอาหารทะเล
การศึกษาในช่วงกลางทศวรรษ 2010 นี้ได้เจาะลึกถึงขั้นตอนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการผลิต “อาหารทะเล” เพื่อทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้นว่าอะไรเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระบบในเอเชีย นักวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้ว่าปัจจัยใดที่มีแนวโน้มจะสร้างหรือป้องกันการเปลี่ยนแปลงในด้านความปลอดภัยของอาหารหรือความยั่งยืนมากที่สุด เพื่อตรวจสอบสิ่งนี้พวกเขารวบรวมข้อมูลอุตสาหกรรมที่หลากหลายจากการสัมภาษณ์ ฐานข้อมูล และเอกสาร
ตลาดอาหารทะเลมีความซับซ้อน และโครงสร้างของห่วงโซ่อาหารแต่ละแห่งแตกต่างกันไปตามประเทศและชนิดของสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร บทความนี้เน้นเฉพาะห่วงโซ่อาหารเฉพาะภายในสี่ประเทศ ได้แก่ จีน เวียดนาม บังคลาเทศ และไทย รวมกันสี่ประเทศนี้คิดเป็นร้อยละ 20% ของการส่งออกอาหารทะเลทั้งหมด
ประเด็นหนึ่งที่ตรวจสอบคือบทบาทของกฎระเบียบภายในประเทศของผู้ส่งออก กฎระเบียบเหล่านี้อาจมาจากหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือ NGO สถาบันภายในที่เข้มแข็งช่วยให้ประเทศต่างๆ ทดสอบผลิตภัณฑ์อาหาร ตรวจสอบทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต และบังคับใช้มาตรฐานใหม่ เมื่อกรอบการทำงานแบบรวมศูนย์เหล่านี้พร้อมแล้ว ประเทศต่างๆ จะสามารถส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อาหารของตนได้ดีขึ้น ประเทศที่มีกฎระเบียบภายในประเทศที่เข้มงวดมักจะได้รับชื่อเสียงที่ดีขึ้นในกลุ่มผู้นำเข้าและได้รับผลกำไรมากขึ้น พวกเขายังมีความพร้อมมากกว่าในการนำระบบการรับรองความยั่งยืนของบุคคลที่สามมาใช้
ประเด็นที่สองคือความสำคัญของการประชาสัมพันธ์เชิงลบในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ในบรรดาแคมเปญที่ส่งผลกระทบมากที่สุดได้แก่ NGO และการโปรโมตสื่อในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา แคมเปญเหล่านี้นำไปสู่การใช้ระบบการรับรองของบุคคลที่สามในวงกว้าง พวกเขายังมีข้อกำหนดในด้านมาตรฐานคุณภาพและความยั่งยืนที่สูงขึ้นสำหรับผู้ส่งออกในเอเชีย
บ่อยครั้ง ซัพพลายเออร์ในเอเชียเพิ่มคุณภาพขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้นำเข้า แต่ห่วงโซ่อุปทานบางแห่งตอบสนองต่อ NGO และความต้องการของผู้บริโภคได้ช้ากว่า ตัวอย่างที่สำคัญคือห่วงโซ่อาหารที่มีหอยในบังคลาเทศ ซึ่งขายกุ้งและกั้งไปยังตลาดขายส่งและบริการด้านอาหารระดับล่างเป็นหลัก ตลาดเหล่านี้มักไม่ได้ถูกเพ่งเล็งโดย NGO และมีความต้องการด้านมาตรฐานคุณภาพหรือความยั่งยืนที่สูงขึ้นได้ช้า
นอกจากนี้ กฎระเบียบที่เข้มงวดยิ่งขึ้นในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรทำให้บางครั้งผู้ส่งออกในเอเชียต้องหาประเทศใหม่ๆเพื่อขาย ประเทศในเอเชียอื่นๆ รัสเซีย และตะวันออกกลาง มีแนวโน้มน้อยกว่าที่จะเรียกร้องมาตรฐานที่สูงขึ้นเพื่อความยั่งยืน
ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่าการบริโภคอาหารทะเลอาจจะเพิ่มขึ้นพร้อมกับรายได้และจำนวนประชากร ผู้ผลิตอาหารทะเลในเอเชียจะมีทางเลือกมากขึ้นในการขายในประเทศทำให้พวกเขาพึ่งพาตลาดสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรน้อยลง ซึ่งหมายความว่าตลาดในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรจะต้องดำเนินการมากกว่านี้เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระยะยาวกับซัพพลายเออร์ในเอเชียและสนับสนุนผู้ผลิตในเอเชียเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคาดหวังว่าสื่อและ NGO จะยังคงมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลง
การพิจารณากรณีศึกษาเหล่านี้ ผู้รณรงค์เรื่องสัตว์จะได้รับมุมมองแบบองค์รวมมากขึ้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่เราพยายามจะโน้มน้าว แม้ว่าอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะมีความซับซ้อน แต่ก็มีโอกาสที่จะก้าวหน้ามากมาย
https://doi.org/10.1016/j.foodpol.2014.08.004
