สถิติและแผนภูมิการฆ่าสัตว์ทั่วโลก: ปี 2022 (ล่าสุด)
This post has been translated from English to Thai. You can find the original post here. Thanks to Tipping Point Private Foundation for generously funding this translation work.
ในปี ค.ศ. 2020 เราได้เผยแพร่บันทึกที่ครอบคลุมเกี่ยวกับจำนวนสัตว์ที่ถูกฆ่าทั่วโลก เพื่อเป็นอาหารในแต่ละปี โดยอ้างอิงจากข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติที่เผยแพร่จนถึงปี 2018 บันทึกฉบับนี้แสดงแผนภูมิล่าสุดจากชุดข้อมูลเดียวกันโดยใช้ ตัวเลขสุดท้ายจากปี ค.ศ. 2019 และ ค.ศ. 2020
โดยในปี ค.ศ. 2020 กลุ่มสัตว์ที่เรามุ่งเน้น ได้แก่ วัว ไก่ หมู แกะ และปลา ข้อมูลสัตว์บกนี้ เป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูล FAOSTAT จากองค์การอาหารและการเกษตร (FAO) ของสหประชาชาติ ในขณะเดียวกัน ข้อมูลสำหรับปลาถูกดึงมาใช้ จากฐานข้อมูล “Global Production By Production Source 1950-2020” ที่สามารถพบได้ใน FishStatJ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจาก FAO เท่าที่ได้รับทราบมา ฐานข้อมูล FAOSTAT จะทำการนับสัตว์บก โดยนับจากสัตว์แต่ละตัวที่ถูกฆ่า – ซึ่งต่างจากกรณีของปลาที่วัดจากน้ำหนักจริง (หน่วยเป็นตันหรือกิโลกรัม) เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน หรือการเปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้อง เราจึงได้เลือกที่จะรวมอนุกรมเวลาสำหรับปลาแยกไว้ต่างหาก ซึ่งคุณสามารถพบอนุกรมเวลานี้ได้ในส่วนที่สองของแผนภูมิเส้น
เป็นเรื่องง่ายที่จะเห็นว่า ไก่ เป็นสัตว์บกที่ถูกฆ่ามากที่สุด รองลงมา คือ สุกร แกะ และโค นี่อาจดูขัดกับความรู้สึก และภาพที่เราเห็น เนื่องจากเส้นที่แสดงจำนวนของไก่อยู่ต่ำที่สุดในแผนภูมิ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไก่ถูกเชือดด้วยจำนวนมหาศาลดังกล่าวนั้น มีหน่วยการวัดเป็น 1,000 ตัว/หน่วย — นี่คือวิธีการที่ UN FAO นำเสนอข้อมูล หากเรานำเสนอข้อมูลของจำนวนไก่โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนนี้ การวัดจำนวนสัตว์อื่นๆ อาจถูกทำให้ลดหลั่นตามสัดส่วนไปยังด้านล่างสุดของแผนภูมิ โดยมีเพียงเส้นของจำนวนไก่เท่านั้นที่สามารถอ่านได้ และ นั่นคือความแตกต่างของตัวเลขโดยสิ้นเชิง
นอกจากนี้ ความผิดปกติของข้อมูล ก็เป็นที่สามารถสังเกตได้ง่าย — จำนวนสุกรที่ถูกฆ่าทั่วโลก ลดลงอย่างมาก ประมาณ 141 ล้านตัวในปี ค.ศ. 2019 โดยเฉพาะในเอเชีย ในปี ค.ศ. 2018/2019 ทั่วเอเชีย มีการระบาดของไข้หวัดหมูครั้งใหญ่ ซึ่งอธิบายได้ว่าทำไมจำนวนสุกรที่ถูกฆ่าถึงลดลง อย่างไรก็ตาม การติดตามจำนวนที่ชัดเจนนั้นเป็นเรื่องยาก บทความข่าว เช่น บทความฉบับนี้ ระบุว่า การระบาด และผลการคัดแยกสุกร มีความสำคัญมากพอที่จะทำให้ราคาเนื้อสุกรทั่วโลกสูงขึ้น 40% และในประเทศต่างๆ มีการคัดแยกสัดส่วนที่มีนัยสำคัญของฝูงสัตว์ทั้งหมด เช่น เวียดนามคัดสุกรออกประมาณ คิดเป็น 6% ในประเทศ ในขณะเดียวกัน การศึกษานี้ คาดการณ์ว่า การระบาด และการคัดแยกส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่จีน ซึ่งคิดเป็น 0.78% ของจีดีพีทั้งหมดของประเทศนั้น และตัวเลขทางการใด ๆ ก็มีแนวโน้มว่าจะถูกรายงานต่ำกว่าความเป็นจริงด้วยเหตุผลหลายประการ การฆ่าสุกรเพื่อเป็นอาหารในจีนลดลงถึง 21% จากปี ค.ศ. 2018 ถึง ค.ศ. 2019 และตามมาด้วยการเพิ่มขึ้นอีกครั้ง 30% จากปี ค.ศ. 2019 ถึง ปี ค.ศ. 2020 (หรือเพิ่มขึ้น 3% จากปี ค.ศ. 2018 ถึง ค.ศ. 2020) กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ในปี ค.ศ. 2020 การฆ่าสุกรกลับมามีแนวโน้มสูงขึ้น นั่งเอง
โดยรวมแล้ว จำนวนโค ไก่ สุกร และแกะที่ถูกฆ่าในปี ค.ศ. 2020 อยู่ที่ 73,162,794,213 ตัว เพิ่มขึ้น 2.8% จากปี ค.ศ. 2018 ซึ่งอยู่ที่ 71,145,623,131 ตัว แต่ลดลง 2% จากปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ 74,669,379,926 ตัวและ ในช่วงปี ค.ศ. 2018-2020 ประชากรโลกมีการเพิ่มขึ้น คิดเป็น 2.13%
จากข้อมูลนี้ เราสามารถสังเกตได้ว่า การบริโภคแกะและไก่ต่อหัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่ครั้งล่าสุดของเราในปี ค.ศ. 2018 ในขณะที่การบริโภคโคต่อหัวมีแนวโน้มลดลง และขณะเดียวกัน การบริโภคสุกรต่อหัวกลับพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับในปี ค.ศ. 2018
พวกเราคิดว่า มันน่าสนใจและคุ้มค่าที่จะแยกส่วนอนุกรมเวลาเหล่านี้ออก เพื่อให้ได้แนวคิดว่าที่ใดในโลกที่กลุ่มสัตว์ต่างๆ ถูกฆ่ามากที่สุด ในการดำเนินการเช่นนั้น เราได้วางแผนภูมิพื้นที่แบบเรียงซ้อนสำหรับทวีปต่างๆ สำหรับสัตว์แต่ละกลุ่ม โปรดทราบว่าข้อมูลของกลุ่มสัตว์ต่างๆ สามารถพบได้ในแผนภูมิ เนื่องจากลักษณะของแผนภูมิพื้นที่แบบเรียงซ้อน จึงมีประโยชน์ในการสลับว่าจะแสดงทวีปใด โดยคลิกที่ทวีปเหล่านั้นในคำอธิบายใต้แผนภูมิ ซึ่งช่วยให้เห็นผลลัพธ์ของแต่ละทวีปแยกจากกัน และชัดเจนยิ่งขึ้น
แง่มุมที่ชัดเจน และสนับสนุกข้อสังเกตมากที่สุด คือ สำหรับสัตว์ทุกชนิด ยกเว้นสุกรและแกะ จำนวนที่แน่นอนในเกือบทุกทวีปมีแนวโน้มลดลง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะมีแนวโน้มเช่นนี้ต่อไป — ข้อมูลในระยะเวลาสองปีไม่เพียงพอสำหรับการสรุปเช่นนั้น – แต่ทิศทางมีแนวโน้มสนับสนุสที่ดีขึ้น ในรายงานที่ผ่านมา โอเชียเนียมีสัดส่วนจำนวนมากของแกะที่ถูกฆ่าตายทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะเป็นทวีปที่มีประชากรน้อยที่สุดก็ตาม ในท้ายที่สุด การฆ่าปลามีแนวโน้มที่สูงขึ้นทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเอเชีย มีการบ่งชี้ว่าการฆ่าปลาในเอเชียและโอเชียเนียอาจจะสูงขึ้น ในขณะที่การฆ่าในทวีปอื่นๆ โดยทั่วไปมีแนวโน้มลดลง ข้อยกเว้นที่เห็นได้ชัดเจน คือ ในแอฟริกา การฆ่าปลากำลังไต่ระดับสูงขึ้นโดยทั่วไป แม้ว่าจะมีการลดลงเล็กน้อยในปี ค.ศ. 2020
ณ จุดนี้ จำนวนสัตว์ต่อหน่วยการบริโภค จึงคุ้มค่าต่อการสังเกต — และสิ่งสำคัญ คือ ต้องจำไว้ว่า สำหรับแผนภูมินี้และที่ตามมา (เช่นเดียวกับแผนภูมิทั้งหมดในชิ้นนี้) เรากำลังอธิบายการฆ่า ไม่ใช่ การบริโภค อาจดูแปลกที่บางประเทศ หรือทวีปฆ่าสัตว์จำนวนมากในสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง แต่ความผิดปกติเหล่านี้ที่ดูเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศหนึ่งๆ ในแผนภูมิ อาจเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์จากสัตว์รายใหญ่
เมื่อดูแผนภูมิพื้นที่ซ้อนกันสำหรับโค โอเชียเนียยังคงนำหน้าในการฆ่าต่อหัว แผนภูมิจำนวนไก่แสดงให้เห็นอีกครั้งว่าในทุกทวีป มีการฆ่าไก่ต่อหัวมากขึ้น โดยอเมริกาอยู่ข้างหน้า ตามด้วยโอเชียเนียและยุโรป เมื่อพิจารณาจากแผนภูมิของสุกร เราจะเห็นได้ว่า การฆ่าสุกรต่อหัวมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยทั่วไปในแอฟริกาและยุโรป ในขณะที่แนวโน้มของอเมริกาส่วนใหญ่อยู่ในแนวราบ และดูเหมือนว่าในโอเชียเนียจะมีแนวโน้มลดลง การฆ่าสุกรในเอเชียลดลงอย่างมาก แต่กำลังมุ่งหน้ากลับขึ้นไปอีกครั้ง บางทีอาจจะเพิ่มขึ้นต่อไป ตามแนวโน้มขาขึ้นในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา สำหรับแกะ ตัวเลขต่อหัวของยุโรป เอเชีย อเมริกา และแอฟริกาถูกบดบังด้วยตัวเลขของโอเชียเนียอีกครั้ง และดูเหมือนว่าทุกทวีปมีแนวโน้มลดลงต่อหัว ยกเว้นเอเชีย
สุดท้าย เมื่อดูแผนภูมิพื้นที่ซ้อนกันของปลา จำนวนปลาที่ถูกฆ่าในทวีปอเมริกาต่อหัว ซึ่งมักจะไม่แน่นอน ดูจะมีแนวโน้มลดลงอย่างช้าๆ ในขณะที่ในทวีปอื่นๆ ดูเหมือนว่าจะมีแนวโน้มคงที่มากขึ้น ข้อยกเว้นอีกประการหนึ่งคือ เอเชีย ซึ่งมีสัญญาณของการลดลงต่อหัวที่สามารถเห็นได้
เราสามารถแยกโครงสร้างอนุกรมเวลาเหล่านี้เพิ่มเติมโดยแบ่งทวีปออกเป็นประเทศต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพการกระจายของจำนวนสัตว์ที่ถูกฆ่าในประเทศต่างๆ อย่างชัดเจนที่สุด เราจึงเลือกใช้แผนที่เปอร์เซ็นต์
เมื่อพิจารณาจากสปีชีส์ที่แตกต่างกัน เราจะเห็นได้ว่ามีชื่อประเทศไม่กี่ชื่อที่ครอบงำจำนวนที่แน่นอนเหล่านี้: จีน – ซึ่งสมเหตุสมผล เมื่อพิจารณาจากขนาดของประเทศ – เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา และบราซิล สำหรับบางสายพันธุ์ เราเห็นความแตกต่างในระดับภูมิภาคมากขึ้น: แผนภูมิอินโดนีเซียและเปรู มีการฆ่าปลาที่สูงมาก ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อยู่ใกล้อันดับต้น ๆ สำหรับการฆ่าแกะ และอินโดนีเซียอยู่ใกล้จุดสูงสุดสำหรับการฆ่าไก่เช่นกัน ในขณะเดียวกัน จีนมีอยู่เหนือสดในการฆ่าสุกร อาร์เจนตินา และปากีสถานก็อยู่ในระดับสูงเช่นกันสำหรับการฆ่าโค
ตอนนี้เรามาดูกันว่าประเทศที่มีจำนวนสัตว์ที่ถูกเชือดแน่นอนสูงเช่นนั้น มีจำนวนการฆ่าต่อหัวสูงหรือไม่ โดยใช้กราฟที่แก้ไขสำหรับขนาดประชากร
ด้วยตัวเลขที่ปรับสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับประชากร ประเทศต่างๆ เช่น จีน บราซิล และสหรัฐอเมริกา หลุดออกจากภาพแผนภูมิ นิวซีแลนด์ครองแชมป์ในการฆ่าโค (ในแต่ละปีมีการฆ่าโคถึงเกือบหนึ่งตัวต่อคน) อิสราเอล เบลารุส และกายอานา เป็นผู้นำในการฆ่าไก่ต่อหัว เดนมาร์กฆ่าสุดกรมากที่สุดต่อคน (สุกรเกือบ 3 ตัวต่อปี ต่อคน ในประเทศ) รองลงมา คือ สเปนและเนเธอร์แลนด์ แผนที่ร้อยละต่อหัวสำหรับปลาถูกครองโดยหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ นาอูรู และกรีนแลนด์
ข้อเสียของการใช้แผนภูมิเช่นนี้ คือ พวกเขาให้แนวคิดที่ดีเกี่ยวกับส่วนท้ายของการกระจายประเทศเป็นหลัก ในขณะที่ประเทศที่มีจำนวนการฆ่าที่ต่ำกว่านั้นแทบจะหายไป กราฟแผนที่โลกบด้านล่างแสดงการแทนแบบสัมบูรณ์และแบบต่อหัว เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นหาข้อมูลสำหรับประเทศใดประเทศหนึ่งได้อย่างง่ายดาย คุณยังสามารถวางเมาส์เหนือการแจกแจงคำอธิบายแผนภูมิเพื่อดูว่าประเทศใดอยู่ในส่วนเฉพาะของการแจกจ่ายนั้น
ดังที่เราได้พูดคุยกันในฉบับก่อนหน้าของซีรีส์นี้ ข้อมูลของ FAO มีประโยชน์และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการเสนอมุมมองทั่วโลกเกี่ยวกับจำนวนสัตว์ที่ถูกฆ่าในกรอบเวลาตามแนวยาว และอย่างที่กล่าวไปแล้วว่าข้อมูลนี้ไม่ได้ปราศจากการวิพากษ์วิจารณ์
สิ่งสำคัญ คือ ต้องทราบด้วยว่า แม้ว่าตัวเลขเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในแง่ของการฆ่าสัตว์ แต่ก็ไม่ได้บอกเราว่าทำไม กล่าวอีกนัยหนึ่ง เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าทำไมสัตว์บางตัวถึงมีการฆ่าลดลง หรือเพิ่มขึ้นจากหนึ่งปีไปสู่ปีถัดไป หรือทำไมประเทศหนึ่งถึงมีการฆ่าสัตว์จำนวนมหาศาล มากกว่าอีกประเทศหนึ่ง นอกเหนือจากนี้ เรายังไม่สามารถแสดงความคิดเห็นว่าปรากฏการณ์โรคระบาดระดับโลกอย่าง COVID-19 มีผลต่อข้อมูลนี้อย่างไร อย่างไรก็ตาม เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้สนับสนุนด้านสัตว์ หรือเกี่ยวกับสัตว์จะสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อขับเคลื่อนประเด็นการรณรงค์ของพวกเขาได้ในปีต่อๆ ไป
