กินมังสวิรัติหรือกินเจ: เส้นทางที่หลากหลายสู่เป้าหมายเดียวกัน
[This post has been translated from English to Thai. You can find the original post here. This translation was made possible with support from World Animal Protection courtesy of a grant from the Open Philanthropy Project.]
ความเป็นมาและความสำคัญ
มังสวิรัติเป็นส่วนสำคัญในการรณรงค์เรื่องสัตว์ปศุสัตว์ แม้ในช่วงเวลาที่เหล่านายทุนมุ่งเน้นไปที่การทำแคมเปญล็อบบี้ กลุ่มนักรณรงค์เกือบทุกกลุ่มก็ทุ่มเทเพื่อให้ผู้คน “ลองทานเจ” “เป็นวีแกน” หรือ “ทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์” แคมเปญเหล่านี้รวบรวมบทเรียนที่ได้จากการวิจัยและการประเมินผลกระทบ ซึ่งในขณะนี้มีงานวิจัยที่มีคุณภาพที่สำรวจ วิธีการเชิญชวนให้คนหันมาทานวีแกน และทานเจ (ในที่นี้โดยรวมจะเรียกว่า veg*ns ในรายงานนี้)
ในขณะเดียวกัน การวิจัยที่เกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือและการดูแล veg*ns คนใหม่ๆ โดยเฉพาะผู้ที่ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารนอกบริบทของแคมเปญรณรงค์นี้มีจำกัดอย่างมาก การทำความเข้าใจและการสนับสนุน veg*ns มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเนื่องจากคนทั่วไปได้เริ่มทานอาหารที่ทำมาจากพืชและการรับประทานมังสวิรัติยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เราไม่ต้องการให้ผู้คนมีแนวคิดต่อการทานเจ และมังสวิรัติว่าเป็นการทานอาหารตามกระแสนิยมที่แค่ลองทำตามกระแส พอเบื่อก็เลิก Faunalytics (2014) ได้แสดงให้เห็นว่าคนที่เคยเป็น veg*ns ในสหรัฐอเมริกานั้นมีจำนวนมากกว่าคนที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยกลุ่มคนเหล่านี้หลายๆคนได้ลองทานมังสวิรัติเป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ
รายงานที่เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือการให้ข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับการเปลี่ยน veg*n ระยะสั้นกลายมาเป็น veg*n ระยะยาวหรือถาวรแก่นักรณรงค์ นี่เป็นรายงานฉบับแรกจากอีกหลายฉบับ ที่จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาในครั้งนี้
- รายงานฉบับที่ 2 จะออกมาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ซึ่งจะกล่าวถึงแรงจูงใจทั้งโดยทั่วไป และเฉพาะเจาะจงของผู้คนในการเริ่มทานมังสวิรัติ ว่ามันมีผลต่อความสำเร็จอย่างไร และระดับของความเป็นสปีชีส์นิยมของพวกเขาในตอนต้นและตอนปลายของช่วงหกเดือน
- รายงานฉบับที่ 3 จะออกมาในปลายปีนี้ จะเน้นที่คำถามสำคัญเกี่ยวกับประสิทธิภาพของกลยุทธ์ต่างๆ สำหรับการเอาชนะอุปสรรคในการเป็น veg*n
โครงการนี้มีข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งทั้งหมดจะถูกโพสต์ลงบน Open Science Framework เมื่อเราทำการวิเคราะห์และตีพิมพ์เสร็จแล้ว ในระหว่างนี้ หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับการวิจัยเพิ่มเติมที่ต้องการให้เราพิจารณา โปรดติดต่อที่อีเมล [email protected]
ผู้เข้าร่วม
การศึกษานี้ประกอบด้วยประชาชนทั่วไปจำนวน 222 คนจากทั้งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งเริ่มเปลี่ยนไปเป็นวีแกนหรือทานอาหารเจภายในสองเดือนที่ผ่านมาทั้งหมด
ในส่วนของระดับความมุ่งมั่นในรายงานนี้แสดงให้เห็นว่ามากกว่า 90% ของกลุ่มตัวอย่างได้กล่าวว่าพวกเขาอาจจะทานอาหารแบบใหม่หรือจะทานต่อไปอย่างถาวรแน่นอน ดังนั้นจึงอาจเป็นการดีที่สุดที่จะมองว่ากลุ่มคนตัวอย่างเหล่านี้ที่ได้ก้าวผ่านกรอบความคิดแบบธรรมดาๆไปแล้ว หรือพวกเขามีความต้องการที่จะเปลี่ยนตัวเองไปสู่ขั้นที่พวกเขาพร้อมที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายของการเป็น veg*n
ผลการศึกษาที่สำคัญ
- ผู้คนส่วนใหญ่ค่อยๆปรับเปลี่ยนไปทานมังสวิรัติหรือทานเจ มีเพียง 21% จากทั้งหมดที่เปลี่ยนเป็น veg*n ในชั่วข้ามคืน มี 38% จากทั้งหมดวางแผนที่จะเปลี่ยนในช่วงสองสามวันหรือหนึ่งสัปดาห์ อีก 34% ใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือสองสามเดือน และอีก 7% ที่เหลือใช้เวลาหลายเดือน หลังจากหกเดือน ผู้ที่เปลี่ยนแปลงช้ากว่ามักจะรู้สึกว่าประสบความสำเร็จน้อยกว่าและอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายการควบคุมอาหารมากกว่าผู้ที่เปลี่ยนเร็วกว่า แต่พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะทำต่อไปเช่นเดียวกับคนอื่นๆ
- สำหรับผู้ที่ค่อยๆลดการรับประทานเนื้อสัตว์ลง เราไม่พบหลักฐานที่มีนัยสำคัญว่าวิธีการลดแบบใดแบบหนึ่งได้ผลดีกว่าวิธีอื่น ไม่ว่าผู้คนจะลดการบริโภคทั้งหมดลงทีละน้อย ลดการบริโภคอาหารบางอย่างในแต่ละครั้ง หรือทำทั้งสองอย่างพร้อมกัน อัตราความสำเร็จก็ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
- เมื่อคุณจะเป็นวีแกนหรือทานเจ ความไม่สมบูรณ์เป็นกฎมากกว่าข้อยกเว้น โดยเฉลี่ยแล้ว เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการติดตาม 6 เดือน ผู้เข้าร่วมรู้สึกว่าประสบความสำเร็จ 88% แต่ยังคงบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์มากกว่าที่ตั้งใจไว้ 6.1 จานต่อเดือน มีผู้เข้าร่วมเพียง 28% รู้สึกว่าประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ แม้ว่า 57% จะบรรลุหรือทำได้เกินเป้าหมายของระดับการบริโภค
- คนทั่วไปลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ลง 42.1 จานต่อเดือน ในช่วงหกเดือนแรกของการเป็น veg*n กล่าวคือ เมื่อสิ้นสุดการศึกษาบนกลุ่มตัวอย่าง พวกเขากินผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้อยลงถึง 42.1 จานต่อเดือน เมื่อเทียบกับก่อนที่พวกเขาจะเริ่มเปลี่ยนการทานอาหาร สำหรับผู้ทานเจรายใหม่ๆ นี่คือการเปลี่ยนจาก 15 จานต่อสัปดาห์เป็น 6 จานต่อสัปดาห์ สำหรับวีแกนรายใหม่ นี่คือการเปลี่ยนจาก 12 จานต่อสัปดาห์เหลือ 1 จานต่อสัปดาห์ครึ่ง มันไม่ได้ไม่สมบูรณ์แบบ แต่พวกเขาก็ใกล้ที่จะเลิกการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้แล้ว
- การเลือกทานมังสวิรัติมากกว่าการทานเจนั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดามากกว่าที่เคยเป็นมา ในกลุ่มตัวอย่างประชากรทั่วไปนี้ ผู้คน 41% มุ่งสู่การทานมังสวิรัติ และ 59% มุ่งสู่การทานเจ (มากกว่าเดิม 1.4 เท่า) เราเปรียบเทียบสิ่งนี้กับการศึกษาในปี 2014 ของเราซึ่งแสดงให้เห็นว่าในขณะนั้น มีคนทานเจมากกว่าวีแกนส์ถึง 3 เท่า (ในขณะเดียวกัน ความแตกต่างของระเบียบวิธีระหว่างการศึกษาทั้งสองอาจทำให้การเปลี่ยนแปลงที่เกินจริง ดังนั้นขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงจึงควรถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน)
- หลังจากหกเดือนผู้ที่มีคู่สมรสหรือบุตรมักจะอยู่ไกลจากเป้าหมายของการเป็น veg*n เมื่อเทียบกับคนที่ยังไม่แต่งงานและยังไม่มีบุตร การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นถึงความต้องการหลักที่สำคัญและบ่งชี้ว่ามันอาจส่งผลให้ทำตามเป้าหมายได้ยากขึ้น
คำแนะนำ
- ความมุ่งมั่นในช่วงต้นอย่างเฉพาะเจาะจง ระดับความมุ่งมั่นของผู้เข้าร่วมในช่วงเริ่มต้นของการศึกษา (เช่น แน่ใจมากขนาดไหนว่าพวกเขาสามารถรับประทานอาหารแบบเดิมต่อไปอย่างถาวร) เป็นตัวทำนายที่สำคัญของการรักษาและการละทิ้งการรับประทานอาหาร เราแนะนำให้มีการออกแบบคำมั่นสัญญาที่มีประสิทธิภาพ สำหรับแคมเปญเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของคุณ เพื่อสร้างความรับผิดชอบและความมุ่งมั่น
- เพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์และความต้องการของแต่ละบุคคล ให้ใช้คำมั่นสัญญาที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันมาก ดังที่เราเห็นในการวิเคราะห์นี้ มีเส้นทางที่ประสบความสำเร็จในการลดความทุกข์ทรมานของสัตว์ด้วยการเปลี่ยนการทานอาหารหลากหลายเส้นทาง แม้แต่กับผู้ที่มีเป้าหมายเดียวกัน ตัวอย่างเช่น กำจัดผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทั้งหมดในคราวเดียว กำจัดอาหารทีละอย่างจนกว่าจะถึงระดับเป้าหมาย หรือเพิ่มจำนวนอาหารสำหรับ veg*n ต่อสัปดาห์จนกว่าจะถึงระดับเป้าหมาย เราขอแนะนำให้คุณกำหนดความต้องการส่วนบุคคลก่อน จากนั้นปฏิบัติตามแนวทางคำมั่นสัญญาเพื่อให้พวกเขาปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ออกแบบไว้โดยเฉพาะสำหรับพวกเขาที่ไม่ใช่แบบทั่วๆไป
- รับทราบและตรวจสอบสภาพของแต่ละบุคคลที่ส่งผลให้เปลี่ยนแปลงได้ยากขึ้นและให้การสนับสนุนที่เหมาะสมหากทำได้ การศึกษานี้มีการระบุสถานภาพของครอบครัว (การมีคู่สมรส และ/หรือ บุตร) ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับคนจำนวนมาก เราแนะนำให้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปสรรคเหล่านี้จากผู้ที่มีประสบการณ์และโดยการอ่านเกี่ยวกับงานวิจัยอื่นๆ ในหัวข้อนี้ (เช่น Asher & Cherry, 2015; Greenebaum, 2018) การช่วยเหลือผู้คนให้พบวิธีที่จะเอาชนะอุปสรรคเป็นสิ่งสำคัญ แต่การทำความเข้าใจและตรวจสอบความปัญหาที่พวกเขามีอยู่ เพื่อให้ผู้คนรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนในการเดินทางของพวกเขาก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน (คำแนะนำนี้มาจากการวิจัยเรื่องการตอบสนองมีผลต่อการสนับสนุนเป้าหมายอย่างไร เช่น Canevello & Crocker, 2010; Feeney, 2004)
วิธีการศึกษา
โครงการนี้เน้นที่ประสบการณ์ของวีแกนส์และผู้ทานเจรายใหม่ (เรียกรวมกันว่า veg*n ในรายงานนี้เพื่อความเรียบง่าย) จากทั้งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ผู้เข้าร่วมต้องตอบแบบสำรวจเมื่อลงทะเบียนเข้าร่วม และแบบสำรวจติดตามผล 6 ชุดที่จะได้รับทุกเดือนในช่วงหกเดือนข้างหน้า
คนเหล่านี้ไม่ใช่คนที่เห็นแคมเปญรณรงค์เดียวกันหรือสมัครเพื่อความท้าทาย ดังนั้นประสบการณ์และเหตุผลของพวกเขาจึงมีความหลากหลายและเป็นตัวแทนสำหรับเส้นทางที่หลากหลายเพื่อมุ่งสู่วิถีการเป็น veg*n ที่มีอยู่ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราพบว่าข้อมูลประชากรของผู้เข้าร่วมของเรานั้นค่อนข้างเป็นตัวแทนของประชากรโดยรวม แต่เรายังให้น้ำหนักผลลัพธ์เชิงบรรยายเพื่อให้ใกล้ชิดกับประชากรในสหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้น สำหรับรายละเอียด โปรดดู เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เราขอชี้แนะว่าผู้เข้าร่วมเหล่านี้เป็นตัวแทนของผู้ที่เริ่มรับประทานแบบ veg*n ชนิดใหม่ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยมีข้อยกเว้นประการหนึ่ง เช่นเดียวกับการศึกษาอื่นๆ สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาว่าบางคนมีแนวโน้มจะเข้าร่วมมากกว่าคนอื่นๆหรือไม่ ในกรณีนี้ เราสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้ที่เพิ่งทดลองรับประทานอาหารแบบ veg*n และไม่ได้มีความมุ่งมั่นกับมัน อาจไม่ได้แสดงอยู่ในตัวอย่างนี้ เพราะมันคงเป็นสิ่งที่แปลกที่จะลงทะเบียนเพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาที่ใช้เวลาหกเดือน ซึ่งศึกษาในสิ่งที่คุณอาจไม่อยากจะทำต่อหลังจากทำไปแล้วสองสามสัปดาห์ จากรายงาน ระดับความมุ่งมั่นของพวกเขาสนับสนุนสมมติฐานนี้ ตามที่อธิบายไว้ในผลการศึกษาที่สำคัญและในส่วนของระดับความมุ่งมั่นด้านล่าง
การใช้ตัวแทนและการชั่งน้ำหนัก
เพื่อให้แน่ใจว่าตัวอย่างนี้มีความเป็นตัวแทนของ veg*ns มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ เราดำเนินการตามแผนก่อนการลงทะเบียนโดยการเปรียบเทียบพวกเขากับตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่มากกว่า ( n = 11,399) ของ veg*ns จากการศึกษาของ Faunalytics ในปี 2014 เรายินดีที่ได้พบว่ากลุ่มตัวอย่างปัจจุบันตรงกับกลุ่มประชากรส่วนใหญ่อยู่แล้ว แต่เพื่อเพิ่มความเป็นตัวแทนให้ได้มากที่สุด เราจึงชั่งน้ำหนักผลลัพธ์เชิงบรรยายให้ตรงกัน สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของขั้นตอนการเปรียบเทียบและการชั่งน้ำหนัก โปรดดูส่วนวิธีการโดยละเอียดในเอกสารประกอบเพิ่มเติม
การลดจำนวน
โดยรวมแล้ว ผู้เข้าร่วม 65% ได้เข้าร่วมจนจบการศึกษาทั้งหมด: ไม่ว่าจะโดยเป็นกลุ่มตัวอย่างจนจบช่วงระยะเวลาการศึกษา 6 เดือนโดยยังคงรับประทานอาหารตามเป้าหมาย หรือโดยการทำ “แบบสำรวจการออกจากการศึกษา” (แม้ว่าจะไม่ได้อธิบายลักษณะนั้นไว้สำหรับพวกเขาก็ตาม )
ตามที่เราคาดไว้ อัตราการสำเร็จของแบบสำรวจติดตามผลรายบุคคลลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างช้าๆเมื่อเวลาผ่านไป โดยจากตอนแรกมี 77% ที่ทำแบบสำรวจการติดตามผลครั้งแรก ลดลงเหลือ 56% ที่ทำแบบสำรวจการติดตามผลครั้งที่หกและครั้งสุดท้าย แม้ว่าอัตราเหล่านี้จะเป็นอัตราที่ดีสำหรับการศึกษาระยะยาว แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญเสมอที่จะต้องพิจารณาว่าผู้ที่ออกจากการศึกษาของคุณแตกต่างจากผู้ที่อยู่ในการศึกษาหรือไม่ (เรียกว่าการลดจำนวนเชิงอนุพันธ์)
เราตรวจสอบการลดจำนวนอย่างรอบคอบโดยใช้แผนก่อนการลงทะเบียนและพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผู้ที่อยู่จนจบการศึกษานี้กับผู้ที่ไม่ได้อยู่จนจบ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการและผลลัพธ์ได้ในส่วนวิธีการโดยละเอียดในเอกสารประกอบเพิ่มเติม
ผู้ที่ละทิ้งเป้าหมายในการเป็น veg*n ของพวกเขา จะต้องทำ “แบบสำรวจการออกจากการสึกษา” จากช่วงเวลาของการศึกษาทั้งหมดมีผู้เข้าร่วมการศึกษาเพียง 19 คนจากทั้งหมด 222 คน (เป็น 9% ที่ไม่ได้นำไปชั่งน้ำหนัก) ระบุว่าพวกเขาได้ละทิ้งเป้าหมายการเป็น veg*n
บทสรุป
การศึกษานี้เป็นหนึ่งในความพยายามครั้งแรกในการติดตามการเปลี่ยนแปลงในการทานอาหารในระยะเริ่มต้นเป็นระยะเวลานานพอสมควร รายงานเบื้องต้นนี้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลที่มุ่งมั่นที่จะเป็น veg*n และวิธีที่พวกเขาทำใน “โลกแห่งความเป็นจริง” นอกบริบทของแคมเปญรณรงค์
จากผลลัพธ์นั้นเห็นได้ชัดเจนว่าวิธีที่ผู้คนลดอันตรายต่อสัตว์นั้นมีความแตกต่าง ความไม่สมบูรณ์ และความหลากหลาย เราได้จัดเตรียมตัวอย่างของการเดินทางที่มีความเฉพาะตัวของแต่ละคนในรูปแบบของรูปภาพไว้ในส่วนผลลัพธ์ ดูที่“ตัวอย่างการเดินทาง”
เราขอแนะนำว่านักรณรงค์ควรเปิดใจและช่วยให้ผู้คนค้นพบแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพวกเขา สำหรับผู้ที่สนับสนุนการทานมังสวิรัติเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าคุณจำเป็นต้องประนีประนอมหรือเปลี่ยนเป้าหมายสุดท้ายของคุณ แต่จำไว้ว่าเส้นทางที่หลากหลายสามารถนำไปสู่จุดสิ้นสุดเดียวกันได้
มีวีแกนส์ใหม่มากกว่าในอดีต?
ในการศึกษานี้ เราพบว่าผู้คน 41% มีเป้าหมายในการรับประทานอาหารมังสวิรัติ ในขณะที่ 59% มีเป้าหมายในการรับประทานอาหารเจ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือผู้คนปริมาณ 1.4 เท่าตั้งใจจะทานเจ แม้ว่าการรับประทานเจจะพบเห็นได้ทั่วไปมากกว่าจากการศึกษาของเราในปี 2014 แต่ความแตกต่างที่สังเกตพบในตอนนั้นกลับโดดเด่นกว่ามาก ในขณะนั้นมีผู้ทานเจมากกว่าวีแกนส์ถึง 3 เท่า และคนที่เคยทานเจมีมากกว่าวีแกนส์ถึง 9 เท่า นี่แสดงให้เห็นว่าการเลือกทานมังสวิรัติมากกว่าการกินเจนั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดามากกว่าที่เคยเป็นมา ซึ่งเป็นการค้นพบที่สมเหตุสมผลในโลกที่ส่วนแบ่งตลาดของอาหารจากพืชเพิ่มขึ้นอย่างมาก และเกิดความท้าทายในวงกว้าง เช่น เทศกาลการทานมังสวิรัติในเดือนมกราคมซึ่งได้รับความสนใจจากทั่วโลก
ในเวลาเดียวกัน เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบว่ามีความแตกต่างอย่างมากทางวิธีการที่ใช้ในการศึกษาระหว่างการศึกษาของเราในปัจจุบันกับในปี 2014 ซึ่งอาจส่งผลให้ขอบเขตของความแตกต่างนั้นมากเกินความเป็นจริงได้ ในขณะที่การศึกษาในปี 2014 ใช้การสำรวจเพียงครั้งเดียว ผู้เข้าร่วมในการศึกษาในปัจจุบันทราบดีว่าการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เวลานานถึงหกเดือน ผู้เข้าร่วมของเราอาจมีความมุ่งมั่นมากกว่าคนทั่วไป และหากวีแกนส์รายใหม่มีแนวโน้มที่จะมุ่งมั่นมากกว่าผู้ทานเจรายใหม่ พวกเขาอาจถูกแสดงในปริมาณที่มากเกินจริง
วีแกนหรือผู้ที่ทานอาหารจากพืช?
การศึกษานี้เน้นเรื่องอาหาร แต่เราก็ได้ตั้งคำถามถึงการใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่นๆด้วย เกือบครึ่งหนึ่ง (47.5%) ของผู้เข้าร่วมที่รับประทานอาหารมังสวิรัติมีเป้าหมายที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ไม่ใช่อาหารทั้งหมด สิ่งที่น่าสนใจคือ มากกว่าหนึ่งในสามของผู้มีเป้าหมายในการเป็นผู้ที่รับประทานเจ (37.3%) ก็ตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ไม่ใช่อาหารทั้งหมดอีกด้วย
โดยรวมแล้ว เราพบว่าผู้เข้าร่วมประมาณครึ่งหนึ่งที่เราเรียกว่า “วีแกน” ในรายงานนี้จะเรียกว่า “ผู้ทานอาหารจากพืช” โดยผู้ที่สร้างความแตกต่างในด้านแนวทางปฏิบัติ ดังที่ระบุไว้ในรายงานก่อนหน้านี้ เราเข้าใจถึงเหตุผลแต่เลือกที่จะไม่แยกความแตกต่างของทั้งสองในรายงานนี้ เนื่องจากเป้าหมายของเราคือการสนับสนุนผู้ที่เริ่มลดการทำร้ายสัตว์ผ่านการกระทำของพวกเขา นี่เป็นเหตุผลที่สมเหตุสมผล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการไม่แบ่งแยกและการสนับสนุนทางสังคมมีประโยชน์เชิงบวกในหลาย ๆ ด้านของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความเป็นอยู่ที่ดี ในขณะที่สิ่งอื่นและการกีดกันมีผลในทางลบ (เช่น DiMatteo, 2004; Korpershoek et al., 2019; Lemstra et al., 2016).
การเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไปและไม่สมบูรณ์เป็นเรื่องปกติ
ในช่วงสุดท้ายของระยะเวลาการติดตาม 6 เดือนของเรา 57% ของผู้เข้าร่วมบรรลุหรือทำได้เกินเป้าหมาย แต่ผู้เข้าร่วมโดยเฉลี่ยยังคงบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 6.1 จานต่อเดือนมากกว่าที่ตั้งใจไว้ (สำหรับวีแกนส์ จะเท่ากับ 6.1 จาน สำหรับผู้ที่ทานเจจะเป็น 6.1 จาน นอกเหนือจากนมและไข่ที่ตั้งใจจะกินอีกมาก)
ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ มีผู้เข้าร่วมเพียง 28% รู้สึกว่าประสบความสำเร็จ 100% ภายในเดือนที่ 6 และระดับความสำเร็จโดยเฉลี่ยในช่วงท้ายอยู่ที่ 88% นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าความสำเร็จและความสำเร็จในการบริโภคมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางเท่านั้น นั่นคือในขณะที่การบริโภคที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายของคุณมักจะไปพร้อมกับความรู้สึกที่ประสบความสำเร็จมากขึ้น มันไม่ได้ไปควบคู่กันอย่างแน่นอน มีคนที่ทำได้ดีในการบริโภคแต่รู้สึกว่าประสบความสำเร็จน้อยลงด้วยเหตุผลหลายประการ และผู้ที่มียังตั้งปรับปรุงอีกเยอะแต่รู้สึกว่าตนเองทำได้ดี บางทีอาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงที่ช้ากว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผน
นอกจากนี้เรายังพบว่าคนส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนมาทานมังสวิรัติหรือทานเจในชั่วข้ามคืน ส่วนใหญ่ใช้เวลาอย่างน้อยสองสามวันหรือหลายสัปดาห์ (38%) หลายสัปดาห์หรือสองสามเดือน (34%) หรือแม้แต่หลายเดือน (7%) มีเพียง 21% ที่เป็น veg*n ในชั่วข้ามคืน แม้ว่าผู้ที่เปลี่ยนผ่านอย่างค่อยเป็นค่อยไปมีแนวโน้มที่จะรู้สึกประสบความสำเร็จน้อยลงและไกลจากเป้าหมายในการควบคุมอาหารมากขึ้นหลังจากผ่านไป 6 เดือน แต่ก็ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในความเป็นไปได้ที่จะเลิกกับการทำต่อไป
ภาระหน้าที่ภายในครอบครัวทำให้ยากขึ้น
เราพบว่าคนที่แต่งงานแล้วมักจะอยู่ไกลจากเป้าหมายการเป็น veg*n มากขึ้นหลังจากหกเดือน เมื่อเทียบกับคนที่ยังไม่แต่งงาน แม้แต่ผู้ที่มีคู่ครองระยะยาวก็มีความแตกต่างที่ยิ่งมากกว่าเดิมเมื่อเทียบกับผู้ที่มีและไม่มีบุตร เนื่องจากผู้ที่มีบุตรมักจะอยู่ไกลจากเป้าหมายอย่างมาก นี่แสดงให้เห็นว่าความต้องการที่จำเป็นนั้นทำให้ยากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบุคคลเหล่านี้จะอยู่ไกลจากเป้าหมายมากกว่า แต่ก็ไม่มีหลักฐานสำคัญว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะละทิ้งความพยายามในการเป็น veg*n หรือว่าพวกเขารู้สึกว่าประสบความสำเร็จน้อยกว่าคนอื่นๆ เป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการตีความนิยามความสำเร็จ โดยคำนึงถึงความยากลำบากที่เกิดจากภาระหน้าที่ในครอบครัว เราขอแนะนำว่าผู้สนับสนุนควรเรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูล (เช่น Asher & Cherry, 2015; Greenebaum, 2018) และรับทราบปัญหาเหล่านี้ โดยเน้นว่าแนวทางที่ยืดหยุ่นนั้นเป็นไปได้ในขณะที่ยังคงมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย
การวิจัยเพิ่มเติมในหัวข้อนี้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของสภาพการณ์ในครอบครัว การช่วยเหลือผู้คนให้พบวิธีที่จะเอาชนะอุปสรรคเป็นสิ่งสำคัญ แต่การทำความเข้าใจและรับรู้ถึงความยากลำบากที่พวกเขามีนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน เพราะมันทำให้ผู้คนรู้สึกได้รับการสนับสนุนในการเดินทางของพวกเขา (คำแนะนำนี้มาจากการวิจัยว่าการตอบสนองนั้นมีผลต่อการสนับสนุนเป้าหมายอย่างไร เช่น Canevello & Crocker, 2010; Feeney, 2004)

Related Posts
-
-
เริ่มทานมังสวิรัติหรือทานเจ: แรงจูงใจและอิทธิพล
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือเพื่อให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้แก่ผู้ที่รณรงค์เกี่ยวกับวิธีการช่วย veg*nism คนใหม่ๆ ให้ยังยอมรับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเขา นี่เป็นรายงานฉบับที่สองในชุดของรายงานสามส่วนที่ออกมาจากการวิจัยนี้ READ MORE
Jo AndersonDecember 8, 2021
-
-
การเป็นวีแกน หรือ มังสวิรัติ: อุปสรรค และกลยุทธ์บน
เส้นทางสู่ความสำเร็จรายงานฉบับนี้ เป็นรายงานฉบับที่สาม และเป็นฉบับสุดท้ายในชุดเนื้อหาที่อธิบายเกี่ยวกับผลการศึกษาผู้ทานมังสวิรัติและวีแกนรายใหม่ของ Faunalytics READ MORE
Jo AndersonSeptember 7, 2022
-
-
Pagiging Vegan o Vegetarian: Maraming Paraan Para Maabot ang Isang Tunguhin
Ang pag-aaral na ito ay isa sa mga unang pagtatangka na subaybayan ang maagang pagbabago sa diyeta sa isang mahaba-habang panahon. Ang unang ulat na ito ay nagbibigay ng kaunawaan sa mga taong commited sa pagiging veg*n at kung paano nila ito ginagawa sa "tunay na mundo," sa labas ng konteksto ng isang kampanyang adbokasiya. READ MORE
Jo AndersonJune 30, 2021
